< กลับหน้าแรก

คู่มือโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Watse School)


คู่มือ . การจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียนจนเหลือศูนย์

คู่มือโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Watse School) image

การปลูกฝังจิตสำนึกในการคัดแยกขยะมูลฝอยและนำกลับมาใช้ประโยขน์ เป็นพื้นฐานที่จำเป็นของประชาชนในสังคมที่ทุกคนควรมี และโรงเรียนเป็นสถานที่สำคัญที่จะบ่มเพาะประชากรคุณภาพให้มีจิตสำนึกในเรื่องนี้ คู่มือนี้จึงถ่ายทอดเรื่องราวการจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์เพื่อความยั่งยืน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแยกขยะ

ปลายทางของขยะทิ้งแล้วไปไหน?

  • ฝัง หรือ กองไว้ ส่วนใหญ่ไม่ได้จัดการอย่างถูกวิธี(ไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล) ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ เมื่อฝนตกลงมา น้ำจะซึมลงไปในบ่อขยะ ละลายสารบางชนิดออกมา เป็นของเหลวที่เรียกว่า ”น้ำชะขยะ(Leachate)” ที่เต็มไปด้วยสารพิษและเชื้อโรค ซึ่งจะซึมลงสู่ดิน น้ำใต้ดิน และอาจปนเปื้อนแหล่งน้ำบนผิวดิน ส่งผลกระทบต่อชีวิตในแหล่งน้ำ สารพิษสะสมอยู่ในกุ้ง หอย ปู ปลา เมื่อเราจับขึ้นมาบริโภคเราก็ได้รับสารพิษนั้นโดยไม่รู้ตัว อีกทั้งเชื้อโรคและกลิ่นเหม็นที่สร้างผลกระทบให้ชุมชนใกล้เคียง และสูญเสียพื้นที่ฝังกลบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ปี

  • เผา การเผาจะทำให้เกิดก๊าซพิษหลายชนิด เช่น ก๊าซเรือนกระจก ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ก๊าซกรดมีผลต่อทางเดินหายใจและปอด ไอของโลหะหนัก สารไดออกซิน เป็นสารก่อมะเร็งและระคายเคืองทางเดินหายใจ

คนไทยใช้ถุงพลาสติกเฉลี่ย คนละ 8 ใบต่อวัน

แนวคิดขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste)

เป็นการส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้ทรัพยากรถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และลดขยะให้เหลือน้อยที่สุด โดยใช้หลัก 3Rs (Reduce – Reuse - Recycle) หัวใจสำคัญคือ “การจัดการขยะที่ต้นทาง” เน้นการลดขยะ การใช้ซ้ำ การคัดแยกเพื่อนำกลับมารีไซเคิลก่อนนำไปกำจัด

ประเภทของขยะ

  • ขยะอินทรีย์
  • ขยะรีไซเคิล
  • ขยะทั่วไป
  • ขยะอันตราย

เริ่มต้นเป็นโรงเรียนปลอดนขยะ

เริ่มต้นที่นโยบายของโรงเรียน เช่น ที่โรงอาหาร ห้ามจำหน่ายขนมกรุบกรอบบรรจุภัณฑ์ถุงพลาสติก และให้นักเรียนใช้แก้วน้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ให้ความรู้การคัดแยกและการจัดการขยะ ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง นักเรียนทุกคนเกิดการเรียนรู้และเชื่อมโยงไปถึงชุมชนให้เข้ามีส่วนร่วมกับโรงเรียน

กิจกรรมการจัดการขยะในโรงเรียนปลอดขยะ

ขั้นตอนสู่โรงเรียนปลอดขยะ เริ่มต้นจากบุคลากรภายในโรงเรียน ประกาศให้โรงเรียนปลอดขยะเป็นนโยบายและพันธกิจสำคัญของโรงเรียนที่ต้องปฏิบัติ “จัดทำแผนงานหลักในการดำเนินงา(Master Plan)” พร้อมทั้งระบุคณะผู้รับผิดชอบในแต่ละส่วนงาน แต่งตั้งคณะทำงานอย่างเป็นทางการ คัดเลือกนักเรียนเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน จำเป็นต้องมองหานักเรียนที่มี “จิตอาสา” และ “สมัครใจ” ที่จะมาร่วมทำงาน จะทำให้การขับเคลื่อนโครงการเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ให้ความรู้แก่นักเรียนและบุคลากรอื่น ๆ ในโรงเรียน เน้นการสร้างความเข้าใจและสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะและนำกลับมาใช้ประโยชน์ และประสานความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ สุดท้ายกำหนดให้มีการประเมินติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อคณะทำงานจะได้ร่วมกันปรับปรุงวิธีดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์


จำนวนผู้ดูเรื่องนี้: 6189

เขียนเมื่อ: 06-02-2024 15:40

ที่มา: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

หมวดหมู่

  • มลพิษจากสิ่งแวดล้อม

Tags

ขยะ โรงเรียน ปลอดขยะ

ผู้ใช้ความรู้

  • ผู้บริหารสถานศึกษา
  • ครู
  • นักเรียน
  • ผู้ปกครอง
  • ชุมชน-พื้นที่
  • อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย

  • ประถมศึกษาตอนต้น
  • ประถมศึกษาตอนปลาย
  • มัธยมศึกษาตอนต้น
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ผู้ปกครอง
  • อื่นๆ

ระดับความง่ายในการนำไปใช้งาน: ใช้ได้ทันทีด้วยตนเอง

คำแนะนำการใช้:

-





ชุดความรู้นี้ นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนของท่านได้มากน้อยแค่ไหน?