< กลับหน้าแรก

ผลกระทบของการถูกทำร้ายและทอดทิ้งในเด็ก

[Admin] เนื้อหานี้ยังไม่ได้เผยแพร่


ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมมีหลากหลาย ซึ่งล้วนส่งผลเสียต่อผู้อยู่ในเหตุการณ์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็ก จากสถิติทั่วโลกพบว่า ทุกๆปี มีเด็กมากกว่า หนึ่งพันล้านคน ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของเด็กทั้งโลก ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ เด็กที่พบเจอความรุนแรงมักเกิดบาดแผลทั้งร่างกายและจิตใจอีกทั้งยังส่งผลต่ออนาคตของเด็กอีกด้วย

ผลกระทบของการถูกทำร้ายและทอดทิ้งในเด็ก image

ผลกระทบของการถูกทำร้ายและทอดทิ้งในเด็ก

เด็กที่เผชิญความรุนแรงในรูปแบบและบริบทต่างๆ ที่แตกต่างกัน มักมีผลกระทบที่มีต่อสุขภาพจิต
ของเด็กในรูปแบบต่างกัน ยกตัวอย่าง ดังนี้

เด็กที่ได้รับความรุนแรงทางด้านจิตใจ มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะมีภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล
การเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ มีความสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นปัญหา ขาดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ
อาจทำให้มีพัฒนาการที่ล่าช้าในช่วงวัยเด็ก

เด็กที่ได้รับความรุนแรงทางเพศ ผลกระทบรวมถึงภาวะซึมเศร้า PTSD มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย
ใช้สารเสพติด มีปัญหาเรื่องการกิน ท้องก่อนวัย มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ผลการเรียนไม่ดี มีการรับรู้
เกี่ยวกับสุขภาพของตนที่แย่ลง ซึ่งจะขัดขวางการรับรู้ความรู้สึกทางร่างกาย

เด็กที่ได้รับความรุนแรงทางร่างกายและการลงโทษ เชื่อมโยงกับปัญหาพฤติกรรม โรควิตกกังวล
ภาวะซึมเศร้าและการใช้สารเสพติด มีพฤติกรรมก้าวร้าวที่เพิ่มขึ้น การมีความเห็นอกเห็นใจลดลง
และส่งผลต่อวิธีที่เด็กซึมซับและทำตามกฎเกณฑ์ทางจริยธรรม นอกจากนี้ ยังมีพัฒนาการทางสติปัญญา
ที่ช้าลงและผลการเรียนที่แย่ลง

เด็กที่ได้รับการปล่อยปละละเลย มีความเชื่อมโยงกับกับพัฒนาการทางสติปัญญา พฤติกรรมและการ
ยึดโยงปัญหาไปที่ปัจจัยภายใน เช่นเดียวกับการทารุณกรรมรูปแบบอื่นๆในเด็ก

ทั้ง 4 ความรุนแรงเบื้องต้นเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งกล่าวได้ว่านับเป็นเรื่องสำคัญและมีความเร่งด่วน
ที่ต้องมีการศึกษาข้อมูลและการช่วยเหลือดูแลในด้านที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของเด็กและบาดแผล
จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เพื่อเป็นรากฐานในการทำความเข้าใจและวางแผนงานบำบัดต่อไปได้อย่างเหมาะสม

ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์


จำนวนผู้ดูเรื่องนี้: 1799

เขียนเมื่อ: 23-09-2023 17:10

ที่มา: ระบบให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้ปฏิบัติงานคุ้มครองเด็กและผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ: อาจารย์ พญ.ปริชวัน จันทร์ศิริ

ประเภท

  • ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านเด็ก

หมวดหมู่

  • สุขภาพจิต

Tags

ความรุนแรง ถูกทำร้าย เด็ก

ผู้ใช้ความรู้

  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  • ครู
  • ผู้ปกครอง

กลุ่มเป้าหมาย

  • ปฐมวัย
  • ประถมศึกษาตอนต้น
  • ประถมศึกษาตอนปลาย

ระดับความง่ายในการนำไปใช้งาน: ใช้ได้ทันทีด้วยตนเอง

คำแนะนำการใช้:

ไม่มี





ชุดความรู้นี้ นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนของท่านได้มากน้อยแค่ไหน?