การป้องกันการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น สำหรับครู
ความรู้สำหรับครู : สังเกตเห็น “สัญญาณเตือน” การช่วยเหลือนักเรียนและการสื่อสารกับผู้ปกครอง

ครูสังเกตอาการนักเรียน พฤติกรรมอาการบ่งชี้ภาวะซึมเศร้า
รู้สึกเศร้าหรือมีอารมณ์หงุดหงิด
- หงุดหงิดง่าย
- ไม่ชอบตนเอง
- ดูไม่มีความสุข
- หมดความสนใจในกิจกรรมชีวิตประจำวัน
- สนใจสุขอนามัยตนเองลดลง
- ผอมลงหรืออ้วนขึ้นกว่าเดิมมาก
- รู้สึกไร้ค่า โทษตนเอง
จดจ่อได้ยาก หรือ ลังเลใจ
- ใช้เวลามากในการทำงานเสร็จแต่ละชิ้น
- ปวดหัว ปวดท้อง
- เลื่อนลอย
- เกรดตกลงจากเดิม หรือ ลาออกจากโรงเรียน
การนอนเปลี่ยนแปลงไป
- ใช้เวลากว่าจะหลับมากกว่า 1 ชั่วโมง
- ตื่นไวกว่าปกติ
- นอนมาก
เหนื่อยล้า หรือ รู้สึกหมดพลัง
- หมดพลังในการทำงานหรือเล่น
- มีความคิดเรื่องการตาย หรือ ฆ่าตัวตาย
- “ฉันอยากตาย”
- มีการวางแผน หรือ พยายามฆ่าตัวตาย
การช่วยเหลือนักเรียนและการสื่อสารกับผู้ปกครอง
การช่วยเหลือและป้องกันการฆ่าตัวตายของนักเรียน
พูดคุยกับนักเรียนและประเมินการทำร้ายตนเอง การฆ่าตัวตายอย่างจริงจัง และส่งต่อเพื่อให้นักเรียนได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม
การสื่อสารกับผู้ปกครอง
- บอกถึงความรู้สึกห่วงใยและใส่ใจนักเรียน
- ชี้ให้เห็นความเหมือนของพฤติกรรมนักเรียนที่ครูสังเกตเห็นกับพฤติกรรมอาการในใบความรู้โรงเรียนชุดนี้
- เสนอแนะทางออกให้ผู้ปกครองพาบุตรเข้ารับการประเมินและรับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตวัยรุ่น ควรแนะนำสถานที่ในพื้นที่ที่ผู้ปกครองเข้าถึงระบบการรักษาได้ง่าย
- แนะนำการเก็บอาวุธในบ้าน
- หากผู้ปกครองไม่เห็นด้วยหรือไม่สนใจ ครูควรสอบถามว่า “เพราะเหตุใด” ให้ผู้ปกครองอ่านใบความรู้โรงเรียนชุดนี้ไปพร้อมกัน และชี้สัญญาณเตือนที่ครูสังเกตเห็นด้วย
ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์