< กลับหน้าแรก

คู่มือ มาตรฐานระบบการจัดการอาหารและโภชนาการในสถานศึกษา


เด็กไทยในวัยเรียนบริโภคไม่ถูกหลักโภชนาการ พบปัญหาเรื่องการขาดสารอาหารและบริโภคเกินพอดี ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต สติปัญญา และการเรียนรู้ ทำให้ไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ จึงเกิดคู่มือมาตรฐานระบบการจัดการอาหารและโภชนาการในสถานศึกษาขึ้นเพื่อเป็นเกณฑ์กลางขั้นพื้นฐานในการดำเนินงานของสถานศึกษา

คู่มือ มาตรฐานระบบการจัดการอาหารและโภชนาการในสถานศึกษา image

คู่มือ มาตรฐานระบบการจัดการอาหารและโภชนาการในสถานศึกษา

เกณฑ์มาตรฐานระบบการจัดการอาหารและโภชนาการในสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 5 มาตรฐาน 23 ตัวชี้วัด ดังนี้

มาตรฐานที่ 1 นโยบายและการบริหารจัดการของสถานศึกษา นโยบายและการบริหารจัดการของสถานศึกษา บริหารจัดการ การใช้งบประมาณ และแผนการทำงานของสถานศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งมี 5 ตัวชี้วัด ได้แก่

ตัวชี้วัดที่ 1 การกำหนดนโยบายส่งเสริมด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียน โดยการมีส่วนร่วม

ตัวชี้วัดที่ 2 การขับเคลื่อนนโยบายด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพนักเรียนสู่การปฏิบัติ

ตัวชี้วัดที่ 3 การส่งเสริมผู้นำนักเรียนด้านอาหารโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพ

ตัวชี้วัดที่ 4 การพัฒนาบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพนักเรียน

ตัวชี้วัดที่ 5 ข้อกำหนดในการจัดบริการอาหารในโรงเรียนที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี

มาตรฐานที่ 2 การจัดการด้านความปลอดภัยอาหาร สุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อม การจัดการด้านความปลอดภัยอาหาร สุขาภิบาลอาหาร และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีของนักเรียน ซึ่งมี 8 ตัวชี้วัด ได้แก่

ตัวชี้วัดที่ 1 สถานที่บริโภคอาหาร สถานที่เตรียม ปรุง ประกอบอาหาร

ตัวชี้วัดที่ 2 อาหาร กรรมวิธีการทำ ประกอบ หรือปรุง และการเก็บรักษาอาหาร

ตัวชี้วัดที่ 3 ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ใช้ในการประกอบอาหาร

ตัวชี้วัดที่ 4 สุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ และเครื่องใช้อื่น ๆ

ตัวชี้วัดที่ 5 สุขลักษณะส่วนบุคคลของแม่ครัว และผู้สัมผัสอาหาร

ตัวชี้วัดที่ 6 น้ำดื่ม / น้ำใช้ / น้ำแข็ง

ตัวชี้วัดที่ 7 การตรวจสอบและการเก็บรักษาคุณภาพอาหารเสริม (นม)

ตัวชี้วัดที่ 8 การเฝ้าระวังทางสุขาภิบาลอาหาร

มาตรฐานที่ 3 การจัดบริการอาหารในโรงเรียนให้มีคุณค่าทางโภชนาการ การจัดบริการอาหารในโรงเรียนให้มีคุณค่าทางโภชนาการ กำหนดเมนูอาหารและจัดบริการอาหารที่เด็กควรได้รับในมื้อกลางวันและมื้อว่างให้มีปริมาณ และสัดส่วนที่เหมาะสมตามมาตรฐาน เพื่อให้อาหารกลางวันมีคุณภาพ ปริมาณเพียงพอ และมีคุณค่าทางโภชนาการ ตลอดจนการตักอาหารตามปริมาณและสัดส่วนที่แนะนำเพื่อไม่ให้มีอาหารเหลือทิ้ง และจำหน่ายอาหารว่าง ขนม เครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งมี 4 ตัวชี้วัด ได้แก่

ตัวชี้วัดที่ 1 การจัดอาหารกลางวันตามมาตรฐานโภชนาการ

ตัวชี้วัดที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพอาหารกลางวัน ด้านคุณค่าทางโภชนาการและลดหวาน มัน เค็ม

ตัวชี้วัดที่ 3 การจัดบริการ และจำหน่ายอาหารว่าง ขนม เครื่องดื่ม ในโรงเรียน

ตัวชี้วัดที่ 4 การลดอาหารเหลือทิ้ง (Food waste)

มาตรฐานที่ 4 การบูรณาการจัดการเรียนรู้และปัจจัยแวดล้อม การบูรณาการจัดการเรียนรู้ และปัจจัยแวดล้อม เป็นการจัดปัจจัยแวดล้อมอาหารเพื่อสุขภาวะ รวมถึง Food Literacy การจัดกระบวนการเรียนรู้ การเรียนการสอน การมีส่วนร่วมของนักเรียนและผู้ปกครอง ซึ่งมี 3 ตัวชี้วัด ได้แก่

ตัวชี้วัดที่ 1 การจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการ

ตัวชี้วัดที่ 2 การจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่เหมาะสม เอื้อต่อการมีวิถีชีวิตสุขภาวะ

ตัวชี้วัดที่ 3 การส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม (เพิ่มผัก ผลไม้ ลดหวานมันเค็ม)

มาตรฐานที่ 5 การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานที่เป็นระบบอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของเด็กให้เต็มศักยภาพ โดยการประเมินที่นิยมใช้ คือ การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงด้วยเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูงที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งวิธีการชั่ง-วัด การจดบันทึกและแปลผลที่ถูกต้อง เพื่อทำให้ทราบว่าเด็กได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอหรือไม่ หากมีแนวโน้มการเจริญเติบโตไม่ดีจะได้หาทางป้องกัน แก้ไข ซึ่งมี 3 ตัวชี้วัด ได้แก่

ตัวชี้วัดที่ 1 การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และจัดทำระบบสารสนเทศ

ตัวชี้วัดที่ 2 การคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและการแก้ไขแบบมีส่วนร่วม

ตัวชี้วัดที่ 3 การเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคและการดูแลสุขภาพอนามัยของนักเรียน

ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์


จำนวนผู้ดูเรื่องนี้: 3280

เขียนเมื่อ: 19-08-2024 16:06

ที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ: เรียบเรียงขึ้นโดยความร่วมมือของ มูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ (มอส.) กรมอนามัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

ประเภท

  • ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านเด็ก

หมวดหมู่

  • ภาวะโภชนาการ
  • ทักษะในชีวิต

Tags

มาตรฐาน โภชนาการ สถานศึกษา

ผู้ใช้ความรู้

  • ครู
  • ผู้ปกครอง

กลุ่มเป้าหมาย

  • ปฐมวัย
  • ประถมศึกษาตอนต้น

ระดับความง่ายในการนำไปใช้งาน: ใช้ได้ทันทีด้วยตนเอง

คำแนะนำการใช้:

ไม่มี





ชุดความรู้นี้ นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนของท่านได้มากน้อยแค่ไหน?