รับมืออย่างไร เมื่อลูกเกิด “ภาวะการเรียนรู้ถดถอย” (Learning Loss)
[Admin] เนื้อหานี้ยังไม่ได้เผยแพร่
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กโดยตรง เพราะการเรียนการสอนทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบของออนไลน์ ทำให้เด็กต้องเรียนรู้ผ่านหน้าจอ ซึ่งนำมาสู่วิกฤต “ภาวะการเรียนรู้ถดถอย” หรือ Learning Loss

รับมืออย่างไร เมื่อลูกเกิด “ภาวะการเรียนรู้ถดถอย” (Learning Loss)
ภาวะการเรียนรู้ถดถอย” หรือ Learning Loss ในเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยต้องสูญเสียทักษะในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านปฏิสัมพันธ์และการเข้าสังคม เมื่อเด็กต้องเรียนรู้เพียงลำพังที่บ้าน ทำให้เด็กไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์
กับผู้อื่นเท่าที่ควร
2. ด้านภาษาและการสื่อสาร การเรียนออนไลน์ที่บ้านเด็กมักจะไม่ได้คุยกับใครไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคุณครู
หรือกับเพื่อน เมื่อต้องกลับเข้าสู่โรงเรียน ประสิทธิภาพในการเรียนรู้และศักยภาพในการใช้ภาษาของเด็ก
ก็จะลดลงตามไปด้วย
3. ด้านระเบียบวินัย เมื่ออยู่ที่บ้านเด็กจะขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติตามระเบียบวินัย เพราะไม่มีแรงจูงใจ
จากเพื่อน ๆ หรือจากครู และหากไม่ได้รับการปลูกฝังเรื่องระเบียบวินัย อาจส่งผลเสียต่อการมีระเบียบวินัยในอนาคต
4. ด้านการเรียนรู้ การเรียนออนไลน์ที่บ้านเป็นเวลานาน จะทำให้ความกระตือรือร้นในการอยากเรียนรู้
ของเด็กลดลง เพราะเด็กไม่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ส่งผลให้เด็กอาจมีความรู้ความสามารถทางวิชาการ
ที่ช้าลงตามไปด้วย
ผู้ปกครองต้องรับมืออย่างไร เมื่อลูกเกิด “ภาวะการณ์เรียนรู้ถดถอย”
ผู้ปกครองสามารถทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยเสริมทักษะให้แก่เด็กๆ ได้โดยกิจกรรมที่แนะนำ มีดังนี้
-
พาเด็กออกไปเล่นนอกบ้าน การพาเด็ก ๆ ออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน หรือที่สวนสาธารณะที่อยู่ใกล้บ้าน จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย การเล่นนอกบ้านของเด็กนั้น ควรเป็นการเล่นแบบอิสระ คือให้เด็กได้วิ่งเล่นในพื้นที่ที่มีความกว้างขวางและปลอดภัย ซึ่งการเล่นแบบอิสระนี้ จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ความต้องการของตัวเอง กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ กล้าตัดสินใจ และฝึกการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
-
อ่านหนังสือร่วมกันกับเด็ก ผู้ปกครองควรหาเวลาว่างระหว่างวัน หรือช่วงเวลาก่อนเข้านอน อ่านหนังสือร่วมกับเด็ก ๆ โดยหนังสือที่แนะนำคือหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องที่พวกเขาสนใจ การอ่านหนังสือจะทำให้เกิดการกระตุ้นความคิด จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
-
พาเด็กออกไปพบปะเพื่อนหรือผู้คนในที่สาธารณะ ผู้ปกครองควรหาโอกาสพาเด็ก ๆ ให้มาพบกันแล้วปล่อยให้พวกเขาเลือกทำกิจกรรมร่วมกันอย่างอิสระ เพราะการพบปะเพื่อนๆ เป็นเป็นทักษะจำเป็นที่เด็กควรได้รับการฝึกฝนและพัฒนา เมื่อเด็กได้เข้าร่วมสังคม ช่วยให้พวกเขาเรียนรู้เรื่องการควบคุมตนเอง และการทำหน้าที่ตามบรรทัดฐานของสังคม เรียนรู้เรื่องกฎระเบียบในการอยู่ร่วมกัน
-
สร้างประสบการณ์ที่ดีร่วมกันกับเด็ก เมื่อมีโอกาสลองชวนเด็ก ๆ ออกไปทำกิจกรรมนอก เช่น แคมป์ปิ้ง กางเต็นท์ ไปเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ หรือสมัครเรียนทำกิจกรรมที่ได้ลงมือทำจากของจริง เช่น ปั้นดิน วาดรูป ประดิษฐ์ ฯลฯ เพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีระหว่างตัวเด็กกับผู้ปกครอง
ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์