< กลับหน้าแรก

คู่มือการลดก๊าซเรือนกระจก สำหรับประชาชน


คู่มือ: เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจก และสามารถมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

คู่มือการลดก๊าซเรือนกระจก สำหรับประชาชน image

ที่มาและความสำคัญของการลดก๊าซเรือนกระจก

จากสถิติอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลก พบว่าปี ค.ศ. 2022 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 0.08 องศาเซลเซียส เป็นปีที่ร้อนที่สุดอันดับ 6 นับตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมา และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ เป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติและที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ เมื่อกิจกรรมของมนุษย์เพิ่มขึ้น ก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ส่งผลให้โลกของเราร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นสาเหตุของภัยธรรมชาติจากสภาพอากาศสุดขั้ว

ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน ไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์

ผลกระทบที่อาจเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก

พืชและสัตว์

  • แนวปะการังเกิดการฟอกขาว สูญหาย
  • ระบบนิเวศทางทะเลล่มสลาย
  • สายพันธุ์พืชและสัตว์ครึ่งหนึ่งสูญพันธ์

อาหาร

  • ผลผลิตทางการเกษตรลดลง
  • พันธ์ปลาท้องถิ่นสูญพันธุ์
  • ปัญหาความมั่นคงทางอาหาร

น้ำ

  • บางประเทศประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ
  • ธารน้ำแข็งละลาย
  • ปัญหาภัยแล้งรุนแรง

ระดับน้ำทะเล

  • ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเรื่อย ๆ

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย

การพัฒนาและการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต้องอาศัยการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ การผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การใช้เทคโนโลยีอำนวยความสะดวก ล้วนทำให้ความต้องการด้านพลังงานสูงขึ้น โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า รวมทั้งการบริโภคที่เกินความจำเป็นก่อให้เกิดปัญหาขยะ การขยายตัวของเมือง การบุกรุกป่าและทำลายทรัพยากรธรรมชาติ กิจกรรมเหล่านี้ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี ค.ศ. 2019 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 373 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.21 ต่อปี

”ตราบใดที่ประเทศไทยยังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง หมายความว่า ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ”

มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศที่สำคัญ

ประเทศไทยจะต้องดำเนินมาตรการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยดำเนินการในสาขาที่สำคัญ 5 สาขา ได้แก่

  1. สาขาพลังงานและการขนส่ง
  2. สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์
  3. สาขาของเสีย
  4. สาขาการเกษตร
  5. สาขาป่าไม้

ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างไรบ้าง

กิจกรรมง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันที่สามามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้

ประหยัดพลังงาน

  • เปิดแอร์ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และเลือกใช้แอร์ให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองเครื่องปรับอากาศ
  • เปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดแอลอีดี
  • ปิดไฟและถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน
  • เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟเบอร์ 5

สร้างสุขอนามัยที่ดี

  • แยกขยะโดยเฉพาะประเภทที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ลดขยะพลาสติก
  • ลดขยะอาหารลง 50 % ภายในปี พ.ศ. 2573 ทำปุ๋ยหมักจากขยะเปียก
  • ทำบ่อดักไขมัน ก่อนทิ้งน้ำจากบ้านเรือนสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพิ่มร่มเงา เพิ่มแหล่งอาหาร

  • ปลูกต้นไม้ในบ้าน
  • ส่งเสริมหรือร่วมปลูกต้นไม้ในชุมชน
  • ร่วมอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ป่า

ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง

  • ใช้ขนส่งมวลชน
  • วางแผนเส้นทางเดินรถที่มีประสิทธิภาพ
  • ดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานเสมอ
  • เลือกใช้รถยนต์ อีโคคาร์

ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์


จำนวนผู้ดูเรื่องนี้: 1432

เขียนเมื่อ: 10-11-2023 18:08

ที่มา: Thai-German Cooperation

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ: กลุ่มงานขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก กองขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประเภท

  • ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านเด็ก

หมวดหมู่

  • มลพิษจากสิ่งแวดล้อม

Tags

ก๊าซเรือนกระจก โลกร้อน ภัยธรรมชาติ

ผู้ใช้ความรู้

  • ผู้บริหารสถานศึกษา
  • ครู
  • นักเรียน
  • ผู้ปกครอง
  • ชุมชน-พื้นที่
  • อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย

  • ประถมศึกษาตอนต้น
  • ประถมศึกษาตอนปลาย
  • มัธยมศึกษาตอนต้น
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ผู้ปกครอง
  • อื่นๆ

ระดับความง่ายในการนำไปใช้งาน: ใช้ได้ทันทีด้วยตนเอง

คำแนะนำการใช้:

-





ชุดความรู้นี้ นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนของท่านได้มากน้อยแค่ไหน?