คู่มือการเล่นลูสพาร์ท : ชิ้นส่วนเคลื่อย้ายได้
สิ่งของที่รอบตัวที่ “ถูกทิ้งขว้าง” หรือถูกมองว่า “ไร้ประโยชน์” อาจจะเป็นสิ่งที่สนับสนุนการเล่นและพัฒนาการของเด็กได้ดีที่สุดก็เป็นได้… การเล่นแบบนี้เรียกว่าการเล่นแบบลูสพาร์ท (Loose Part Play)
หากทุกท่านลองมองย้อนกลับไปช่วงวัยเด็กจะพบว่าเด็ก ๆ จะเล่นอิสระกับสิ่งของที่อยู่ในวิถีชีวิต
ตามบริบทของท้องถิ่น หรือเล่นกับทั้งธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต ขยะ สิ่งที่ไม่ใช้แล้ว ของที่มีอยู่ในครัวเรือน
“ทุกสิ่งอย่างรอบตัวเราคือของเล่น ”
การเล่นแบบนี้เรียกว่า การเล่นแบบลูสพาร์ท (Loose Part Play) คือ “การเล่นกับสิ่งของหรือชิ้นส่วนเคลื่อนย้ายได้”
ต่อได้ ถอดได้ ออกแบบได้หลายวิธี ไม่มีทิศทางการเล่นที่เฉพาะเจาะจง
การเล่นรูปแบบนี้ฝึกให้เด็กได้สำรวจ (Explore) สิ่งที่เด็กสนใจ ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด การเล่นแบบ Loose Part เกิดจากแนวคิดที่ว่า…
“เด็กทุกคนล้วนต้องการที่จะสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาด้วยตัวของเขาเอง”
สิ่งของที่เด็กเล่นนั้นอาจมาจากธรรมชาติ ของใช้ในบ้าน หรือแม้กระทั่งของที่ไม่ใช้แล้วก็เป็นได้ ทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งของที่สนับสนุนให้เด็กเล่นปลายเปิด (Open-Ended Play) ซึ่งทำให้เด็กมีความสนุก เติมเต็มความรู้สึกอยากรู้อยากเห็นในตัวเขา และเห็นคุณค่าของผลลัพธ์จากการค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในระหว่างการเล่น ซึ่งเป็นโอกาสดีที่เด็กจะได้ ค้นคว้า ค้นพบ สำรวจ และสร้างสรรค์ ผ่านการเล่นนั่นเอง
แล้วตัวอย่างชิ้นส่วนหรือสิ่งของที่อยู่รอบตัวตามธรรมชาติแบบไหนล่ะที่เด็กสามารถนำมาเล่นได้?
สิ่งของที่หาได้จากธรรมชาติ
ก้อนหิน กรวดหิน ทราย ใบไม้ เศษไม้ ท่อนไม้ ดอกไม้ เครื่องครัว ของใช้ในบ้าน ยางรถยนต์ หรือจักรยาน เสื้อผ้าเก่าๆ เชือก ท่อ PVC
พ่อเเม่มีบทบาทอย่างไรในการสนับสนุน การเล่น Loose Part ของลูก?
พ่อแม่ที่เข้าใจการเล่น Loose Part จะมีบทบาทอย่างสำคัญในการสนับสนุนการเล่นของลูกโดยให้ลูกตัดสินใจและควบคุมการเล่นด้วยตัวเขาเอง ซึ่งจะเป็นไปตามสัญชาตญาณ ความคิด และความสนใจที่ ตัวลูกมี เพราะการเล่น คือ ความสนุก ความไม่แน่นอน ความท้าทาย ความยืดหยุ่น และการไม่คาดหวังถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
มาสนับสนุนลูกเล่น Loose part กันค่ะ
ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์