< กลับหน้าแรก

"heARTwork: วิชาระบายใจ"


เป็นเครื่องมือให้ครูสามารถนำกระบวนการทางศิลปะมาใช้การสื่อสาร และเข้าใจความรู้สึกของเด็ก ๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยออกแบบมาอย่างเหมาะสมกับช่วงวัย มีกิจกรรมให้ทำหลากหลาย เช่น การวาดภาพ ระบายสี ปั้นดินน้ำมัน และการเล่าเรื่องผ่านภาพ ช่วยให้เด็กสามารถแสดงออกถึงความรู้สึกในใจได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองได้ดียิ่งขึ้น

"heARTwork: วิชาระบายใจ" image

มีกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ที่เด็ก ๆ ทำตามได้ไม่ยาก สามารถนำไปใช้ได้จริงในทุกพื้นที่ ไม่จำกัดเพียงในห้องเรียนเท่านั้น โดยด้านในประกอบไปด้วย

Chapter 1 : Check In - ช่วงเวลาแห่งการสำรวจตัวตนเพื่อให้เด็ก ๆ รู้สึกผ่อนคลายและได้ฝึกฝนทักษะการสื่อสาร ทั้งในแง่ของการเป็นผู้เล่าเรื่องและผู้ฟังที่ดี ได้เห็นมุมมองของคนอื่นมากยิ่งขึ้น ตลอดจนได้กระชับความสัมพันธ์กับเพื่อนผู้ร่วมกิจกรรมด้วย

Chapter 2 : กล่องปฐมพยาบาลใจ - 7 แบบฝึกหัดจัดการอารมณ์?ที่ช่วยให้เด็กตระหนักรู้ถึงอารมณ์ของตัวเองผ่านกระบวนการศิลปะบำบัดหลากหลายรูปแบบ จนสามารถเข้าใจและรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองได้

Chapter 3 : ออกแบบวิชาระบายใจ - ช่วงเวลาที่เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เช็กความรู้สึกในแต่ละวันของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกกลัว ไม่มีคุณค่า หรือวิตกกังวลโดยให้เขียนใส่กระดาษแล้วหย่อนลงกล่องที่ไม่ต้องเขียนชื่อ แล้วมาพูดคุยกันว่าจะช่วยกันแก้ปัญหานี้ได้อย่างไรบ้าง

Chapter 4 : Explore Yourself สำรวจตัวฉัน - ช่วงเวลาแห่งการทบทวนและตระหนักรู้ในคุณค่าของตัวเอง สามารถเข้าใจความเป็นตัวเองได้ดียิ่งขึ้น

Chapter 5 : Check Out - กิจกรรมสุดท้ายคือการเขียนความรู้สึกและประสบการณ์ทั้งหมดที่ได้จากการทำกิจกรรม เพื่อให้สามารถกลับมาอ่านทบทวนในภายหลังได้

สามารถดูวิดีโอแนะแนวทางการทำโครงการ heARTwork:วิชาระบายใจ ได้ที่นี่

ไฟล์คู่มือ heARTwork : วิชาระบายใจ ดาวน์โหลดที่นี่

ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์


จำนวนผู้ดูเรื่องนี้: 980

เขียนเมื่อ: 27-06-2025 09:32

ที่มา: สสส., Studio Dialogue และ Studio Persona

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ: สสส., Studio Dialogue และ Studio Persona

ประเภท

  • สื่อและเครื่องมือพร้อมใช้

หมวดหมู่

  • สุขภาพจิต

Tags

รู้เท่าทันอารมณ์ ศิลปะบำบัด กิจกรรม

ผู้ใช้ความรู้

  • ครู

กลุ่มเป้าหมาย

  • ประถมศึกษาตอนปลาย
  • มัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับความง่ายในการนำไปใช้งาน: ใช้ได้ทันทีด้วยตนเอง

คำแนะนำการใช้:

-





ชุดความรู้นี้ นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนของท่านได้มากน้อยแค่ไหน?