< กลับหน้าแรก

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ปรับปรุงใหม่)


การสร้างสุขภาวะและความฉลาดรู้ด้านสุขภาพของผู้เรียน ให้ทบทวนและใคร่ครวญความตระหนักรู้ของตัวเองต่อการดูแลสุขภาพมิติต่างๆ เสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะสุขภาพให้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ปรับปรุงใหม่) image

หลักปฏิบัติเบื้องต้นด้านพฤติกรรมสุขภาพ การกิน การอยู่การดูแลสุขอนามัย การเคลื่อนไหวออกกำลังกาย หรือครบมิติสุขภาพด้านกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมจิตวิญญาณ ตัวเราต้องตระหนักถึงการลดหรือควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงจากพฤติกรรมทางเพศ พฤติกรรมเสพติดและการใช้สารเสพติด พฤติกรรมรุนแรง และการรู้วิธีเอาตัวรอดจากความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพอันมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมในการดำเนินชีวิต ทั้งด้านกายภาพและชีวภาพ เช่น ภัยพิบัติ ปัญหาสุขอนามัยสภาพแวดล้อม โรคระบาดติดต่อในชุมชน รวมถึงหลักการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นในเบื้องต้นให้ปลอดภัย หรือการช่วยฟื้นคืนชีพ และการปฐมพยาบาล โดยเราต้องมีความฉลาดรู้ด้านสุขภาพ หรือการมีทักษะพื้นฐานที่จะช่วยให้เราสามารถดูแลตัวเอง ป้องกันโรคและภัยอันตราย หรือเผชิญกับปัญหาสุขภาพได้อย่างปลอดภัย เช่น การมีความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล พิจารณาความน่าเชื่อถือและนำไปปฏิบัติได้ คิดวิเราะห์ตัดสินใจแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หรือมีทางเลือกที่ปลอดภัยขอความช่วยเหลือหรือรับบริการเมื่อจำเป็น

การดูแลสุขภาพของบุคคลและครอบครัว

การดูแลสุขภาพเป็นหน้าที่ของทุกคนในครอบครัว โดยอาจมีบทบาทที่แตกต่างกัน หากมีสมาชิกในครอบครัวที่มีความรู้ด้านสุขภาพก็จะสามารถสช่วยเหลือสมาชิกคนอื่น หรือกระตุ้นให้ปฏิบัติหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมได้ ดังนี้

  1. ส่งเสริมสุขปฏิบัติส่วนบุคคล การป้องกันโรค เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรค
  2. สอนพฤติกรรมที่ถูกต้องแก่สมาชิกในบ้าน เช่น พฤติกรรมด้านความปลอดภัย
  3. ดูแลสุขภาพสมาชิกในบ้าน ดูแลสุขภาพทั่วไป การเฝ้าระวังโรค การดูแลเมื่อเจ็บป่วย
  4. มีความรู้ด้านการแพทย์เกี่ยวกับโรคที่สมาชิกในครอบครัวเป็น รู้แผนการักษา การปฏิบัตตัวของผู้ป่วย และการช่วยเหลือฉุกเฉิน
  5. ดูแลสิ่งแวดล้อมในบ้าน
  6. ประสานงานกับอาสาสมัครสาธารณสุข(ชุมชน)ในการพัฒนาชุมชน

เพศวิถีและสัมพันธภาพ

ค่านิยมทางเพศในช่วงวัยรุ่น

การสร้างค่านิยม เกิดจากการอบรมเลี้ยงดู การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ระบบสังคมที่มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของวัยรุ่น ศีลธรรมที่เป็นหลัก ค่านิยมที่จะช่วยให้วัยรุ่นปลอดภัยจากพฤติกรรมทางเพศที่สำคัญ คือ

  • ความรับผิดชอบต่อการมีวิถีทางเพศที่ปลอดภัยของตนเอง
  • การมองเรื่องเพศเชิงบวก
  • การไม่ใช้ความรุนแรงทางเพศ
  • การเคารพความหลากหลายทางเพศ

พฤติกรรมเสี่ยงในวิถีชีวิตวัยรุ่น

"พฤติกรรมเสี่ยง" ในช่วงวัยรุ่นที่กระทำแล้ว ทำให้ผู้ใหญ่เป็นห่วง หรือวิตกกังวลว่าจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ จิตใจ อารมณ์ สังคม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. พฤติกรรมเสี่ยงที่สร้างปัญหา เช่น เกเร ก้าวร้าว ดื้อรัน โกหก กระทำผิดกฎหมายต่าง ๆ การหนีเรียน ต่อต้านกฎระเบียบ
  2. พฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพ เช่น เล่นเกมออนไลน์ ติดโทรศัพท์ ทดลองสารเสพติด สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน ไม่สวมหมวกนิรภัย ขับรถซิ่งหรือแข่งรถในที่สาธารณะ

ดาวน์โหลด หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ปรับปรุงใหม่) ---ได้ที่นี่---

ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์


จำนวนผู้ดูเรื่องนี้: 307

เขียนเมื่อ: 30-09-2024 11:42

ที่มา: มูลนิธิแพธทูเฮลท์

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ: มูลนิธิแพธทูเฮลท์

ประเภท

  • สื่อและเครื่องมือพร้อมใช้

หมวดหมู่

  • ภาวะโภชนาการ
  • กิจกรรมทางกาย
  • สุขภาพจิต
  • โรคอุบัติใหม่และปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาวะอื่นๆ
  • ทักษะในชีวิต

Tags

โรค เพศ พฤติกรรมเสี่ยง สุขภาพ

ผู้ใช้ความรู้

  • ผู้บริหารสถานศึกษา
  • ครู
  • นักเรียน
  • ผู้ปกครอง
  • ชุมชน-พื้นที่
  • อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย

  • มัธยมศึกษาตอนปลาย

ระดับความง่ายในการนำไปใช้งาน: ใช้ได้ทันทีด้วยตนเอง

คำแนะนำการใช้:

-





ชุดความรู้นี้ นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนของท่านได้มากน้อยแค่ไหน?