< กลับหน้าแรก

สวนผักบำบัดเพื่อสุขภาวะและอาหารสำหรับเด็กกับครอบครัว


สวนบำบัดทำให้เกิดความรู้สึกว่า การดูแลสิ่งมีชีวิตอื่นและเฝ้าดูการงอกงามของมันทำให้เกิดความเชื่อมั่น มีจุดม่งหมาย และมีพลัง สอนให้เรารู้ว่า การเปลี่ยนแปลงและการฟื้นคืนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ไม่ใช่เกิดเฉพาะในสวนหลังบ้านเท่านั้น แต่เป็นการเกิดและฟื้นคืนในตัวของเราเอง

สวนผักบำบัดเพื่อสุขภาวะและอาหารสำหรับเด็กกับครอบครัว image

สวนบำบัด คือ การใช้กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพืชและสวน ได้แก่ การทำสวน การปลูกผักและไม้ดอก การดูแลพืช การขยายพันธุ์พืช การเยี่ยมชมสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ สวน สวนสาธารณะ ป่า อุทยานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาแต่ละบุคคลให้เกิดความรู้สึกการมีสุขภาวะ ปรับปรุงสุขภาพทางกาย จิต และส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

สวนบำบัด เพื่อสุขภาวะและอาหารสำหรับเด็กและครอบครัว

สำหรับเด็กและผู้สูงอายในครอบครัวและสังคม ไม่ว่าจะเป็นบุคคลปกติหรือมีปัญหาด้านสุขภาพ การทำสวนบำบัดจะเกิดประโยชน์มาก กิจกรรมต่าง ๆ ในการทำสวนผักบำบัดจะช่วยสร้างเสริมสุขภาพ บรรเทาและเยียวยาปัญหาด้านสุขภาพ ป้องกันโรค และนำผู้คนมาสู่วิธีชีวิตที่เป็นสุขภาวะในระยะยาว แม้ในผู้ที่สุขภาพดี การทำสวนผักก็เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ฤดูกาลต่าง ๆ อากาศ ดิน ทำให้ชีวิต ได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงและความสวยงามของธรรมชาติ

สวนผักบำบัดกับสุขภาพทางกาย

กิจกรรมทางกาย
การทำสวนเป็นกิจกรรมทางกายหลายที่ต้องใช้ส่วนบนและส่วนล่างของร่างกาย เช่น การขุดดิน การกลับปุ๋ยหมัก การพรวนดิน เป็นต้น ซึงเป็นกิจกรรมทางกายระดับบานกลาง ในขณะที่กิจกรรมที่ใช้เฉพาะส่วนบนของร่างกายในท่ายืน นั่ง คุกเข่า เป็นกิจกรรมทางกายในระดับน้อย เช่น การถอนหญ้า ผสมดิน กรอกดินใส่กระถาง หว่านเมล็ดผักในกระถาง การปลูกผักในกระถาง

ในปี ค.ศ. 2011 เนลสันและคณะ ได้ทบทวนการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของโปรแกรมเพาะปลูกอาหารในโรงเรียน พบว่า การเพาะปลูกอาหารมีส่วนสำคัญในการทำให้เด็กนักเรียนมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น การผนวกสวนเข้าไปอยู่ในสนามเด็กเล่น หรือพื้นที่สีเขียวที่มีขนาดใหญ่ในโรงเรียน ส่งผลให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเองมากขึ้น

การบริโภคผักและผลไม้

การรับประทานผักสดและผลไม้ ไม่ควรเจาะจงกินชนิดใดชนิดเดียวซ้ำ ๆ แต่ควรกินผักผลไม้ให้หลากหลาย ล้างผักและผลไม้ก่อนกินให้ถูกวิธี เพื่อลดเชื้อโรคและยาฆ่าแมลง รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงผักและผลไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลและแป้งสูง เนื่องจากจะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป

สวนผักบำบัดกับสุขภาพทางจิต

การบำบัดด้วยนิเวศวิทยาทำให้สุขภาพจิตและกาย สุขภาวะดีขึ้น โดยการสนับสนุนให้คนออกไปอยู่กลางแจ้ง ทำสวน เพาะปลูกพืชผัก หรืออยู่กับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ

การผ่อนคลาย ลดความเครียด สวนผักบำบัดสามารถลดความเครียดได้ ดังนี้

  1. เพียงแค่ได้เห็นพื้นที่สีเขียวในสวน ก็สามารถลดระดับความเครียดได้
  2. เพียงแค่การอยู่ในพื้นที่ที่เป็นธรรมชาติ สามารถลดความเครียด ผ่อนคลาย และช่วยในการพักฟื้น เพราะรู้สึกเชื่อมโยงกับธรรมชาติ
  3. การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ลดความเครียดจากการทำงานได้มากกว่าการออกกำลังกายในร่ม

ความสงบ

ความพึงพอใจชีวิต ยากต่อการระบุเป็นรูปธรรม ไม่เหมือนสุขภาพทางกายและจิต อาจกล่าวได้ว่าเป็น ภาวะของจิตใจที่มีความพึงพอใจต่อเนื่องต่อชีวิตที่เปิดเผย เช่นเดียวกับความสุข การทำสวนที่ไม่มุ่งเน้นการแข่งขันจะมีผลต่อคนในหลายด้านเมื่อประสบผลสำเร็จ ทำให้คนรู้จักใช้ชีวิตตามวงจรธรรมชาติ และส่งเสริมให้มีความรู้สึกเป็นสุขและมีสุขภาวะ

สวนผักบำบัดกับสุขภาพทางสังคมและการเรียนรู้.

สวนผักบำบัดก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพทางสังคมและการเรียนรู้ ดังนี้

  1. ความรับผิดชอบ เด็ก วัยรุ่น ผู้ที่มีปัญหาในการเรียนรู้ หรือ ผู้ที่มีความวิตกกังวลสูง จะมีปัญหาในการเห็นคุณค่าของตนเอง การทำสวนบำบัดจะปรับอารมณ์ ความนึกคิดได้เป็นอย่างดี การทำกิจกรรมในสวนจะทำให้เกิดความมั่นใจ
  2. การเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ทำให้มีอารมณ์ความรู้สึกที่ดี และมีสมาธิ ทำให้รู้สึกว่าเราเป็นส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
  3. การเพิ่มฮอร์โมนแห่งความสุข การทำสวนทำให้ระดับฮอร์โมนเซโรโทนินและโดพามีนเพิ่มขึ้น ทำให้มีความสุข ลดความเครียด โกรธ
  4. การได้รับรางวัล เมื่อพยายามปลูกต้นไม้ จะรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของและภาคภูมิใจ
  5. การไม่มีคำตัดสิน พืชเป็นมิตรและชวนผู้คนทำให้คนหลุดออกจากความคิดของตนเอง และการตัดสินจากผู้อื่น การเชื่อมโยงและการสื่อสารจะให้ความปลอดภัย เรียบง่าย และให้ความรู้สึกที่มั่นคง และเห็นคุณค่าของตนเอง
  6. การบำบัดกลุ่ม การทำสวนบำบัดเป็นกลุ่มทำให้ทุกคนรู้สึกตื่นตัว สื่อสาร เปิดกว้าง ส่งเสริมความรู้สึกเป็นเจ้าของและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
  7. ฟื้นความตั้งใจ ความตั้งใจของมนุษย์ที่เกิดจากการกำหนดหรือบังคับ อาจก่อให้เกิดความเครียด การทำสวนจะช่วยฟื้นฟูความผิดปกติของจิตใจ ฟื้นฟูสมาธิ
  8. การพัฒนาทักษะทางสังคมและทักษะการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น เพิ่มการรู้จักและเห็นคุณค่าตนเอง
  9. การเพาะปลูกความหวัง เราจะมีความสุขมากขึ้นเมื่อเรานึกถึงคนอื่น และสิ่งอื่นที่นอกเหลือจากตัวเอง การดูแลสวนจะทำให้จิตใจของเราดีขึ้นทุก ๆ วัน

**สวนผักบำบัดรูปแบบต่าง ๆ ในประเทศไทย

  1. การปลูกพืชอ่อน พืชงอก
  2. การปลูกผักในภาชนะใช้ซำและการปลูกผักในแนวตั้ง
  3. สวนบำบัดสำหรับบุคคลออทิสติก สวนแห่งการเยียวยาและพัฒนาจิตใจของทุกคน การทำสวนเกิดประโยชน์กับตัวเด็กพิเศษ กระบวนการทำสวนบำบัดสามารถปรับเปลี่ยนอารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรมของเด็กพิเศษได้
  4. สวนผักบำบัดในโรงพยาบาล กิจกรรมสวนบำบัดช่วยส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพกับผุ้ป่วย

ดาวนฺ์โหลด infographic เพิ่มเติมค่ะ

ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์


จำนวนผู้ดูเรื่องนี้: 1580

เขียนเมื่อ: 11-05-2023 16:16

ที่มา: สสส.

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ: ประพจน์ เภตรากาศ/ วิฑูรย์เลี่ยนจำ รูญ/ จุลิน ภู่ไพบูลย์/ ไทยวัน ชุมภูทอง/ สุชาญ ศีลอำนวย/ วรางคนางค์ นิ้มหัตถา และคณะ

แคมเปญ

  • เด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ประเภท

  • ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านเด็ก

หมวดหมู่

  • ภาวะโภชนาการ
  • สุขภาพจิต

Tags

เกษตร สวนผักบำบัด สุขภาพ

ผู้ใช้ความรู้

  • ผู้บริหารสถานศึกษา
  • ครู
  • นักเรียน
  • ผู้ปกครอง
  • อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย

  • ปฐมวัย
  • ประถมศึกษาตอนต้น
  • ประถมศึกษาตอนปลาย
  • มัธยมศึกษาตอนต้น
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ผู้ปกครอง
  • อื่นๆ

ระดับความง่ายในการนำไปใช้งาน: ใช้ได้ทันทีด้วยตนเอง

คำแนะนำการใช้:

-





ชุดความรู้นี้ นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนของท่านได้มากน้อยแค่ไหน?