ความปลอดภัยอาหารในการให้บริการอาหารโรงเรียน
คู่มือ ให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยอาหาร และวิธีป้องกันการปนเปื้อน อันตรายในอาหาร

ความปลอดภัยด้านอาหาร
อาหารโรงเรียนที่จัดขึ้นตามกรรมวิธีเตรียม ปรุง ประกอบ และให้บริการอาหารอย่างถูกต้อง เมื่อนักเรียนรับประทานแล้ว อาหารนั้นต้องไม่ก่อผลเสียต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว จึงถือว่าอาหารนั้นปลอดภัยต่อก
ความรู้เรื่องอันตรายในอาหาร
-
อันตรายทางกายภาพอันตรายที่เกิดจากสิ่งแปลกปลอม ที่ปนเปื้อนในอาหาร เมื่อบริโภคเข้าไปก่ออันตรายต่อร่างกายทันที การป้องกัน ผู้ประกอบอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
-
อันตรายทางชีวภาพ อันตรายจากจุลินทรีย์ก่อโรคอาหารเป็นพิษ ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และพยาธิ ที่ปนเปื้อนในอาหารที่ไม่สะอาด การปฏิบัติที่บกพร่องด้านสุขาภิบาลอาหาร ตั้งแต่ เตรียม ปรุง เก็บรักษา จนถึงการให้บริการอาหาร จะทำให้เชื้อเพิ่มจำนวนขึ้นจนก่อโรคอาหารเป็นพิษได้
- การป้องกัน
- ผู้ประกอบอาหาร ต้องปฏิบัติตาม หลักสุขาภิบาลอาหาร และรักษาสุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดี สุก ร้อน สะอาด
- ผู้บริโภค ยึดหลัก กินร้อน ใช้ช้อนกลาง รักษาความสะอาด
- อันตรายทางเคมี อันตรายที่เกิดจากสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร ได้แก่ สารพิษที่พบตามธรรมชาติในพืชและสัตว์ สารเคมีที่ใช้ทางการเกษตร สารเคมีที่ใช้ผลิตและแปรรูปอาหาร สารพิษจากสิ่งแวดล้อม พิษจากภาชนะบรรจุอาหาร ที่เป็นพิษก่ออันตรายต่อสุขภาพ ทั้งพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง
ข้อปฏิบัติในการให้บริการอาหารปลอดภัยในโรงเรียน
- สุขลักษณะของห้องครัวและโรงอาหาร “สะอาด มีเพียงพอ สภาพพร้อมใช้ เป็นระเบียบทำงานปลอดภัย”
- การเลือกซื้ออาหาร และเก็บรักษา “สดใหม่ ปลอดภัย แหล่งผลิตเชื่อถือได้ มีสัญลักษณ์รับรอง สภาพดี สะอาด เก็บรักษาเหมาะสม แยกเป็นสัดส่วน”
- การเตรียม ปรุง อาหาร “สะอาด แยกอาหารสุกจากอาหารดิบ ปรุงสุกทั่วถึง ใช้น้ำ-วัตถุดิบที่ปลอดภัยปรุงอาหาร สุขลักษณะส่วนบุคคลดี”
- การให้บริการอาหาร “พื้นที่สะอาด เสิร์ฟร้อน ภาชนะสะอาดปลอดภัย สุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดี”
- ภาชนะใส่อาหาร “มีมาตรฐานรองรับ สภาพดี สะอาด ปลอดภัย”
- ผู้สัมผัสอาหาร “มีสุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดี ปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร”
ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์