คนเราตัดสินใจเพื่อสิ่งแวดล้อม...ได้อย่างไร
การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นการตระหนักรู้ของสังคม ที่ต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา เพราะเหตุใดบางคนจึงให้ความร่วมมือต่อต้านการทำลายสิ่งแวดล้อม ขณะที่บางคนไม่ได้สนใจที่จะทำแบบนั้น

การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นการตระหนักรู้ของสังคม ที่ต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา เพราะเหตุใดบางคนจึงให้ความร่วมมือต่อต้านการทำลายสิ่งแวดล้อม ขณะที่บางคนไม่ได้สนใจที่จะทำแบบนั้น
“การตัดสินใจเพื่อสิ่งแวดล้อมนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และปัจจัยอะไรบ้างที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจเหล่านั้น”
การตัดสินใจเพื่อสิ่งแวดล้อมของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป โดยมีความพยายามจัดกลุ่มของการแสดงออกหรือการกระทำ ทางสิ่งแวดล้อม ดังนี้
- นักกิจกรรมสิ่งแวดล้อม (environmental activism) ตัวอย่าง เช่น ผู้ที่เข้าร่วมในองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ที่เข้าร่วมในการเรียกร้องต่างๆเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
- ผู้ที่มีการกระทำ เพื่อส่วนรวม ได้แก่ การส่งหนังสือร้องเรียนเกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อม การให้การสนับสนุนองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
- ผู้มีพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำ วัน ได้แก่ การใช้จ่าย การบริโภค และการกำจัดของเสียของแต่ละคน เช่น บริโภคสีเขียวให้มากขึ้น
- อื่นๆ ได้แก่ นักออกแบบพยายามออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น นักพัฒนาเมืองพยายามวางแผนให้เมืองเป็นเมืองทียั่งยืน
การที่คนเราจะตัดสินใจลงมือทำ หรือมีพฤติกรรมแสดงความคิดด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ย่อมมีปัจจัยหลายอย่างมาเป็นสิ่งเร้าหรือส่วนกระตุ้น อาจจะเกิดจากปัจจัยภายนอกต่างๆ อย่างเช่น สถานการณ์ ภาวะทางสังคม หรือปัจจัยภายในตัวบุคคล ซึ่งได้แก่ ความคิด ความรู้สึก ค่านิยม ความเชื่อ ประสบการณ์ต่างๆ รวมไปถึงเพศ การศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
จิตวิทยาสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
“จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม” จัดเป็นศาสตร์สาขาที่กว้างและมีลักษณะเป็นสหสาขาวิทยาซึ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์และชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งทางสังคมและทางกายภาพ ตัวอย่างเช่น ศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวกับสภาพแวดล้อม ศึกษาบทบาทของสังคม วัฒนธรรมว่ามีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือชุมชนอย่างไร
จิตวิทยาพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมีหลายด้านด้วยกัน คือ
- จิตวิทยาส่วนบุคคลสามารถทำ ให้เข้าใจพลวัตของอารมณ์ แรงจูงใจและความรู้ความจำ ซึ่งอาจมีผลต่อพฤติกรรมทำ ลายสิ่งแวดล้อมนักจิตวิทยาสิ่งแวดล้อมมองว่าตัวแปรทางจิตวิทยาส่วนบุคคล หรือ person-variables ว่ามีความสำคัญในการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- ประการที่สอง จิตวิทยาส่วนบุคคลเชื่อว่า พฤติกรรมมนุษย์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเป้าหมาย มิใช่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างบังเอิญ (purposive, goal-directed behaviour) ดังนั้น แนวคิดจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม จึงเกิดขึ้นบนแนวคิดเดียวกันว่า คนและสัตว์ใช้ประโยชน์สิ่งแวดล้อมอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายบางประการ
- จิตวิทยาส่วนบุคคลเน้นสังคมและสิ่งแวดล้อม นักจิตวิทยาสิ่งแวดล้อมเชื่อว่าความตระหนักถึงความสัมพันธ์เป็นพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม
- ประการที่สี่ จิตวิทยาส่วนบุคคลสามารถช่วยจิตวิทยาสิ่งแวดล้อมให้เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น เข้าใจได้ว่าเพราะอะไรคนหนึ่งมีความสนใจสิ่งแวดล้อม ในขณะที่บางคนไม่มีความสนใจดังกล่าว
พฤติกรรมสิ่งแวดล้อม
พฤติกรรมสิ่งแวดล้อม หรือ pro-environmental behaviour “เป็นพฤติกรรมซึ่งเปลี่ยนแปลงสภาพการดำรงอยู่ของทรัพยากรหรือพลังงานจากสิ่งแวดล้อม หรือ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างและ ไดนามิกส์ของระบบนิเวศหรือชีวมณทลในทางบวก
พฤติกรรมสิ่งแวดล้อม หมายถึงการแสดงออกหรือการกระทำในระดับจิตสำนึกที่มีเป้าหมายเพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
พฤติกรรมสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นได้อย่างไร
โมเดลที่เก่าและง่ายที่สุดของพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม คือ linear progression ที่เชื่อว่าพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมเกิดจากความรู้สิ่งแวดล้อม โดยเชื่อว่าความรู้สามารถกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและความห่วงใย ต่อสิ่งแวดล้อม และเกิดพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมในที่สุด
ความรู้ -> ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม -> พฤติกรรมต่อสิ่งแวดล้อม
vสาเหตุที่บางคนคนที่มีทัศนคติทางบวกต่อการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่แสดงออกซึ่งพฤติกรรมมี 4 ประการ ดังนี้
- ประสบการณ์ทางตรงและทางอ้อม ประสบการณ์ตรง มีผลต่อพฤติกรรมมากกว่าประสบการณ์ทางอ้อมอย่างมาก
- บรรทัดฐานของสังคม ประเพณีทางวัฒนธรรม และ ประเพณีทางครอบครัว มีอิทธิพลและสามารถกำหนดทัศนคติของคนเราได้
- ความรู้สึกชั่วคราว เกิดจากความจริงที่ว่า ทัศนคติ ของคนเรานั้นเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นความรู้สึกในระดับจิตสำนึก
- การวัดทัศนคติและพฤติกรรม นักวิจัยจะต้องวัดทัศนคติต่อพฤติกรรมแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อให้ได้มาซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมที่สูง
ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล (Theory of Reasoned Action) มาจากความเชื่อพื้นฐานที่ว่า มนุษย์เป็นผู้ที่มีเหตุผล ดังนั้น “มนุษย์จึงใช้ข้อมูลที่มีอยู่อย่างเป็นระบบ” และ “ไม่ได้ถูกควบคุมโดยแรงขับใต้จิตสำนึก แต่มาจากระดับจิตสำนึก” ตัวแปรที่ผลต่อพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในรายละเอียด ดังนี้
- ความรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหา พฤติกรรมสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นได้เมื่อ คนๆนั้นมีความรู้และคุ้นเคยกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและสาเหตุของปัญหา
- ความรู้เกี่ยวกับการกระทำ รู้ว่าตนเองควรทำ อย่างไรเพื่อลดผลกระทบจากปัญหา
- ตระหนักถึงความสามารถในการควบคุม (Locus of control) หมายถึง การที่บุคคลตระหนักรู้ว่าการกระทำ หรือพฤติกรรมจะสามารถนำ มาซึ่งการเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่
- ทัศนคติ คนที่มีทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมสูงพบว่ามีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม แต่ก็พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและการกระทำ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีระดับที่ต่ำ
- การแสดงออกถึงความมุ่งมั่นด้วยวาจา ความมุ่งมั่นที่สื่อให้เห็นถึงความเต็มใจของผู้นั้นต่อการลงมือกระทำ เพื่อสิ่งแวดล้อม
ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกที่มีผลต่อพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมอีก ซึ่ง Himes et al. เรียกว่า “ปัจจัยสถานการณ์” หรือ “situational factors" ได้แก่ ปัญหาทางเศรษฐกิจ แรงกดดันทางสังคม และโอกาสในการเลือกการกระทำ ที่แตกต่างกัน
ค่านิยมสิ่งแวดล้อม
นักวิชาการที่ให้ความสนใจเรื่องพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม ได้แบ่งค่านิยมที่มีผลต่อพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม 3 รูปแบบ คือ อีโกอิสติก, อัลทรูอิสติก และ ไบโอสเฟียริก (egoistic,altruistic และ biospheric values)
-
คนที่มีค่านิยม อีโกอิสติก สูงเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับผลของต้นทุนกับผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ นั่นคือให้ความสำคัญกับตัวเองมากที่สุด หากประเมินแล้วตนเองได้รับประโยชน์ ก็มีแนวโน้นที่จะมีพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม
-
คนที่มีค่านิยม อัลทรูอิสติกสูง เป็นผู้ที่ตัดสินใจมีพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม เมื่อพบว่าผลการประเมินระหว่างต้นทุนกับผลประโยชน์นั้นปรากฏออกมาว่า ผู้อื่นได้รับประโยชน์มากกว่า
-
คนที่มีค่านิยม ไบโอสเฟียริกสูง เป็นผู้ที่ตัดสินใจมีพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมเมื่อพบว่า ผลการประเมินระหว่างต้นทุนกับผลประโยชน์นั้นปรากฏออกมาว่า สิ่งแวดล้อม หรือ ระบบนิเวศได้รับประโยชน์มากกว่า
ค่านิยมแบบ อีโกอิสติก เป็นค่านิยมที่ให้ความสำคัญกับตัวเองสูงที่สุด ส่วน ค่านิยม อัลทรูอิสติก เป็นค่านิยมในระดับที่สูงกว่า เพราะให้ความสำคัญกับผู้อื่นมากกว่าตัวเอง และค่านิยม ไบโอสเฟียริก มีระดับสูงที่สุดเพราะ ให้ความสำคัญกับระบบนิเวศ
"ความรู้" มีผลอย่างไร
“ความรู้” จัดเป็นปัจจัยภายในตัวบุคคลอย่างหนึ่ง นักวิจัยส่วนมากเชื่อว่า มีพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่สัมพันธ์โดยตรงกับความรู้และจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม ลำพังความรู้อย่างเดียวนั้น ยังไม่เพียงพอสำ หรับการกระตุ้นให้คนเรากระทำ หรือมีพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม แต่ยังจำเป็นต้องมีแรงจูงใจ ค่านิยม ทัศนคติ อีกด้วย
จิตสำนึก ความตระหนัก ทัศนคติ
-
ทัศนคติ หรือ attitude โดยทั่วไปทัศนคติสิ่งแวดล้อมมีผลเพียงเล็กน้อยต่อพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม
-
ความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม หรือ environmental Awareness คือ “การรู้ถึงผลกระทบ อันเนื่องมาจากพฤติกรรมมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม” ความตระหนักสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องกับความรู้ ความจำ (cognitive) อารมณ์ และการรับรู้
ลักษณะทางธรรมชาติของปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นอีกสิ่งหนึ่งซึ่งมีผลต่อความตระหนักสิ่งแวดล้อมของคนเรา ทำให้ตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมต่ำ กว่าที่ควร ด้วยเหตุดังนี้
-
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แต่จะค่อยเป็นค่อยไป จึงใช้เวลานาน กว่าจะปรากฏสภาพปัญหาให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
-
ปัญหาสิ่งแวดล้อมค่อยๆ ทำลายความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ และเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป
-
ความซับซ้อนของระบบสิ่งแวดล้อมทำ ให้เกิดความยุ่งยากต่อการทำ ความเข้าใจ ส่งผลต่อความคิด ความรู้สึก ในการมีปฏิกิริยาต่อสภาพปัญหา
หากต้องการหยุดความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมที่นับวันจะมีเพิ่มมากขึ้น ทุกคนจึงต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของตนเอง เพื่ออนาคตของเด็กๆ ที่ยังคงอยู่ในมือของผู้ใหญ่ ซึ่งเขาเหล่านั้นเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในอนาคต ผู้ใหญ่ทั้งหลายจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจถึงสาเหตุที่จะทำให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม
บริโภคสีเขียว
บริโภคสีเขียว หมายถึง พฤติกรรมการบริโภคที่หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ซึ่งมีแนวโน้มที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ซึ่งผ่านกระบวนการผลิต การใช้วัตถุดิบ หรือ การกำ จัดของเสีย อันก่อให้เกิดความเสียหายกับสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดของเสียที่ไม่จำ เป็นและรวมถึงการใช้วัตถุดิบที่ได้มาจากสายพันธุ์ หรือ สภาพแวดล้อม ที่อยู่ในภาวะที่ถูกคุกคาม หรือ ใกล้สูญพันธุ์
Slide summary คลิ๊ก link title
ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์