การให้คำปรึกษาเด็ก
[Admin] เนื้อหานี้ยังไม่ได้เผยแพร่
กรณีการให้คำปรึกษาเด็กจะมีความละเอียดอ่อนกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กยังไม่ความสามารถแสดงออกถึงความคิดและอารมณ์ความรู้สึกได้เหมือนผู้ใหญ่ ผู้ให้การปรึกษาจึงอาจจะต้องใช้การสังเกต และใช้เทคนิคต่าง ๆ ผ่านการเล่นมากขึ้น เพื่อจะได้ให้เห็นว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นและเด็กรู้สึกอย่างไร

การให้คำปรึกษาเด็ก
การให้คำปรึกษาสำหรับเด็กจำเป็นต้องมีการปรับเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการและระดับ
การรับรู้ของเด็กแต่ละคน
1. จุดเน้นสำหรับการให้การปรึกษาเด็ก เริ่มจากการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ให้
การปรึกษากับเด็ก ใช้เทคนิคการให้การปรึกษาที่นอกเหนือจากการพูดคุยและการรับฟัง
โดยการสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยสำหรับเด็กที่จะปลดปล่อยความเครียดและแสดงความเป็น
ตัวของตัวเองออกมา และสำหรับเด็กเล็กอาจจะแสดงออกได้ดี เมื่อทำกิจกรรมการแสดงบทบาท
สมมติ เช่นการเล่นบทบาทสมมติสื่อสารปัญหา
2. สาเหตุที่เด็กไม่ให้ข้อมูล เด็กส่วนมากมีอายุน้อยเกินกว่าจะรับรู้ว่ามีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้น
หรือเด็กเล็กมากเกินกว่าที่จะสามารถอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ และสาเหตุหลัก คือ ความกลัว ทั้งกลัว
ที่ตัวบุคคล และกลัวการโดนตำหนิ
3. แนวทางที่สามารถทำได้เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เปิดใจหรือบอกเล่าเรื่องราว เริ่มจากการใช้เวลา
ทำความรู้จักกับเด็กให้มากยิ่งขึ้นโดยอาจจะผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเล่น และการสอบถามเรื่อง
ทั่ว ๆ ไป เพื่อให้เด็กผ่อนคลาย เริ่มต้นการคุยจากการถามคำถามที่ง่ายต่อการตอบของเด็กก่อน
แล้วจึงค่อย ๆ ขยับไปยังประเด็นคำถามที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยที่ผู้ให้การปรึกษามีความอดทน
และพยายามใช้เวลาทำความรู้จักกับเด็กให้มากยิ่งขึ้น และนึกถึงทางเลือกอื่น ๆ ที่จะสามารถให้เด็ก
สามารถถ่ายทอดหรือสื่อสารออกมาได้ เช่น การเขียน การวาดภาพ หรือการใช้กันเล่น
4. การสร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่เด็ก สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและสบายใจ
โดยจัดสภาพแวดล้อมให้มีสีสันหรือมีของเล่นสำหรับเด็กเพื่อสร้างบรรยากาศให้เด็กรู้สึกปลอดภัย
โดยในครั้งแรกที่พบกันผู้ให้การปรึกษาควรจะแนะนำตัวเองให้ชัดเจนว่าคือใคร และอธิบายให้เด็กเข้าใจ
ในขั้นตอนต่างๆ ผู้ให้การปรึกษา ควรให้ความสำคัญกับการเปิดโอกาสให้เด็กซักถามหาก และหมั่น
สอบถามเด็กเป็นระยะเกี่ยวกับความเห็นหรือ ความรู้สึกของเด็ก ณ ขณะนั้น เพื่อให้เด็กได้ผ่อนคลาย
ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์