< กลับหน้าแรก

คู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้ “เพศศึกษา” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


คู่มือเล่มนี้เน้น “แผนการเรียนรู้” ที่ครูสามารถนำไปใช้ได้ทันทีหรือประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของนักเรียนและท้องถิ่น โดยมีการทดลองใช้จริงกับโรงเรียน 118 แห่งทั่วประเทศ

คู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้ “เพศศึกษา” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 image

คู่มือเล่มนี้ ประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญ คือ

• แนวทางการจัดการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้าน ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551

• ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของหลักสูตรแกนกลาง การวัดและประเมินผล ระดับชั้น ม.1

• แผนการเรียนรู้เพศศึกษา ตลอดปีการศึกษา จำนวน 16 แผน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ระบุแนวคิด
จุดประสงค์การเรียนรู้ และสาระสำคัญ โดยจัดทำขึ้นอย่างสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

• การเรียนรู้และตัวชี้วัดของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม

• และสภาพแวดล้อมของเยาวชน

• บทเรียนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาเข้าสู่หลักสูตรสถานศึกษา

• แหล่งข้อมูลเพศศึกษา เอดส์ และหน่วยงานบริการสำหรับเด็กและเยาวชน

ทั้งนี้ หัวใจของหลักสูตรนี้อยู่ที่การเน้นบทบาทครูในฐานะ “ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้” และ“ผู้อำนวยการเรียนรู้” มากกว่าการเป็น “ผู้ตัดสิน ชี้ถูกชี้ผิด” ดังนั้นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ จึงอยู่บนพื้นฐานแนวคิดของการให้
ผู้เรียนมีโอกาสคิดวิเคราะห์ และหาทางเลือกที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ของตนเอง จากการมีข้อมูลความรู้เรื่อง
สุขภาวะทางเพศที่รอบด้าน ทักษะที่จำเป็นและส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาวะ เพื่อให้เยาวชนมีความพร้อมที่จะเลือกดำเนินชีวิตทางเพศอย่างมีสติ รับผิดชอบทั้งต่อตนเองและคนที่เกี่ยวข้อง

ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์


จำนวนผู้ดูเรื่องนี้: 780

เขียนเมื่อ: 29-12-2021 09:42

ที่มา: มูลนิธิแพธทูเฮลท์

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ:

ประเภท

  • ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านเด็ก
  • สื่อและเครื่องมือพร้อมใช้

หมวดหมู่

  • สุขภาวะทางเพศ

ผู้ใช้ความรู้

  • ครู

กลุ่มเป้าหมาย

  • มัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับความง่ายในการนำไปใช้งาน: ใช้ได้ทันทีด้วยตนเอง

คำแนะนำการใช้:

ใช้คู่กับ “คู่มือฝึกอบรมผู้จัดการเรียนรู้เพศศึกษาแบบรอบด้านสำหรับสถานศึกษา”





ชุดความรู้นี้ นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนของท่านได้มากน้อยแค่ไหน?