เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก
การเลี้ยงดูอบรมเด็กให้เติบโตมาอย่างมีคุณภาพนั้นมีรายละเอียดไม่น้อยเลยทีเดียว ตั้งแต่เล็กในวัยทารก จนเป็นวันเด็ก หรือแม้กระทั่งใช้ได้ในวัยรุ่นตอนต้น จิตวิทยาเด็กจึงเป็นกลไกและเครื่องมือที่ทำให้พ่อแม่ ครู หรือผู้ใหญ่คนใดก็ตาม ได้สร้างเสริมความเข้าใจ ความสัมพันธ์ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อเอื้อต่อการเติบโตของเด็กที่เปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ให้เติบโตได้อย่างมั่นคง

ในยุคที่ทุกอย่างเปลี่ยนไปจากแต่ก่อน จนทำให้ผู้ใหญ่อย่างเราอาจตั้งตัวไม่ทัน จึงอาจเป็นการบ้านของพ่อแม่
หรือปู่ย่าตายาย รวมถึงครู มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้เรื่องของจิตวิทยาเด็กมากขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจจากมุมของผู้เสี้ยงดู เพราะหากเลี้ยงดูตามแต่อย่างเดิมอย่างเมื่อก่อนนี้อาจไม่เพียงพอต่อการให้เด็กนั้นเติบโตได้มีคุณภาพในปัจจุบัน
จิตวิทยาเด็กที่ว่านั้นควรเริ่มตั้งแต่วัยทารก โดยเฉพาะช่วงขวบปีแรกที่จะส่งผลต่อความไว้ใจโลกใบนี้ เด็กเริ่มเรียนรู้ว่าตนเองชอบใบหน้า เสียงและกลิ่นของผู้เลี้ยงดูที่มีความปฏิสัมพันธ์ที่อบอุ่นและต่อเนื่อง มีการเรียนรู้ที่จะมองและฟัง สัมผัส ดมกลิ่น ชิมรส
นอกจากนั้น เด็กยังสามารถเรียนรู้ด้านภาษาจากการพูดของแม่หรือคนเลี้ยงดูซึ่งจะเป็นพัฒนาการต่อเนื่องด้านการเรียนรู้ เด็กสามารถเรียนรู้จังหวะของเสียงผ่านการทำเสียงสูงต่ำ การเล่านิทาน ที่ทำให้เด็กเรียนรู้ศัพท์ใหม่ถึงร้อยละ 76 หรือเรียนรู้เรื่องการจัดเรียงพยัญชนะและสระเมื่อได้เห็นอักขระซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง
เมื่อเด็กเติบโตขึ้น เริ่มมีการเล่นและมีทักษะทางสังคม ซึ่งอารมณ์ของลูกมักจะเกี่ยวเนื่องอารมณ์ของพ่อแม่หรือคนเลี้ยงดู ซึ่งหากใช้อารมณ์กับเด็กมากๆ จะส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมการเล่นที่รุนแรงเมื่อเล่นกับเด็กคนอื่นๆ รวมถึงมีมุมมองในการแปลพฤติกรรมคนอื่นไปในทางร้ายอยู่เสมอ ในทางตรงข้ามหากพ่อแม่เปิดกว้าง ไม่ใช้อารมณ์ ไม่ตัดสินผิดถูก จะทำให้เด็กมักเรียนรู้สังคมตามความเป็นจริงได้มากกว่า หรือการเล่นสมมติที่บางครั้งแสดงพฤติกรรมการพูดคนเดียวออกมาที่มาจากเพื่อนในจินตนาการอาจทำให้พ่อแม่กังวลใจ แต่การเล่นสมมติทำให้ลูกเข้าใจคนอื่นมากขึ้น ยอมรับกฎเกณฑ์และบรรทัดฐานของสังคม ส่วนทางด้านความจำและสมอง เด็กจะมีพัฒนาการด้านความจำโดยปริยาย ซึ่งเป็นความจำระดับจิตก่อนสำนึกพร้อมจะผุดขึ้นมาอย่างอัตโนมัติ และความจำเชิงกระบวนการวิธี เช่น ความจำในการผูกเชือกรองเท้า ซึ่งการพัฒนาความจำมักจะพัฒนาผ่านจังหวะ การทำซ้ำหรือเป็นกิจวัตร จนเกิดความจำด้านการคิดคำนวณ จนถึงเกิดการพัฒนาการสมองไปสู่การคิดวิเคราะห์ที่เป็นทักษะสำคัญของเด็กไทยที่ต้องการให้มีมากขึ้นผ่านกิจกรรมหรือตัวอย่างปัญหาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ มีทักษะสมองด้านบริหารจัดการที่จะสามารถยับยั้งความคิด ควบคุมความคิด ความรู้สึกและการกระทำ ที่จะผลต่อตัวเด็กไปจนถึงเติบใหญ่
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเลี้ยงดูอบรมเด็กให้เติบโตมาอย่างมีคุณภาพนั้นมีรายละเอียดไม่น้อยเลยทีเดียว ตั้งแต่เล็กในวัยทารก จนเป็นวันเด็ก หรือแม้กระทั่งใช้ได้ในวัยรุ่นตอนต้น จิตวิทยาเด็กจึงเป็นกลไกและเครื่องมือที่ทำให้พ่อแม่ ครู หรือผู้ใหญ่คนใดก็ตาม ได้สร้างเสริมความเข้าใจ ความสัมพันธ์ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อเอื้อต่อการเติบโตของเด็กที่เปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ให้เติบโตได้อย่างมั่นคง
ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์