< กลับหน้าแรก

แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์


Child Online Protection Guideline 1.0 หรือ แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง ยังคงเข้มข้นด้วยเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางออนไลน์ของเด็กและเยาวชน ที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรระแวดระวังทั้งเรื่องสื่อลามกอนาจารออนไลน์ , การพนันออนไลน์ , ภัยจากเกมออนไลน์ , การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ หรือ Cyber Bullying ซึ่งนอกจากเสนอข้อมูลสถานการณ์ปัญหาเพื่อสร้างความตื่นตัวในการป้องกันแล้ว คู่มือเล่มนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดูแล และคุ้มครองเด็ก ๆ ไม่ให้ถูกล่วงละเมิดทางเพศด้วยสื่อออนไลน์ และเสริมสร้างความรู้เท่าทันทางสื่อออนไลน์ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในยุคดิจิทัลนี้อีกด้วย

แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ image

ที่ผ่านมาสถิติที่ได้มาจากการสำรวจของศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ หรือ COPAT พบว่าเด็กเกือบทั้งหมดเชื่อว่าอินเตอร์เน็ตมีประโยชน์แต่เกิดความตระหนักถึงภัยอันตรายและความเสี่ยงหลายรูปแบบ มีทั้งความเสี่ยงต่อการติดเกมและอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นปัญหาทางสุขภาพจิต การเล่นพนันออนไลน์ การถูกกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ เป็นต้น

ขณะที่ภัยออนไลน์ที่มีต่อเด็กและเยาวชน สามารถแบ่งได้เป็น 10 ลักษณะคือ
1. การถูกกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์
2. ถูกติดตามคุกคามออนไลน์
3. ถูกล่อลวงให้พูดคุยเรื่องเพศ
4. ถูกแบล็กเมลทางเพศ
5. ถูกล่อลวงทางเพศ
6. เนื้อหาที่ผิดกฎหมายหรืออันตราย
7. เล่นพนันออนไลน์
8. เสพติดเกมและอินเตอร์เน็ต
9. ใช้สื่อโดยอายุมาถึงเกณฑ์
10. เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป

สำหรับการถูกกลั่งแกล้งรังแกออนไลน์นั้น เด็กเองก็มีวิธีการรับมือ ได้แก่ การบล็อกซึ่งนิยมทำมากที่สุด

รองลงมาคือการลบข้อความหรือรูปภาพที่ทำให้รู้สึกไม่ดี ขณะที่ร้อยละ 21.7 นั้นไม่มีการจัดการอะไร ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ มีความโกรธ เครียด กังวล ทำร้ายตนเอง จนฆ่าตัวตาย

ดังนั้นคนรอบข้างสามารถช่วยในส่วนนี้ได้ คือ รับฟังอย่างจริงใจ ให้ความรักความอบอุ่น ช่วยเหลือ เช่น ลบ ปิดกั้น รายงาน และสร้างมาตรการ กฎหมาย

ทักษะการรู้เท่าทันสื่อจึงสำคัญ ซึ่งได้แก่ การเข้าถึงสื่อที่หลากหลายรูปแบบ การคิด วิเคราะห์เปรียบเทียบเนื้อหาข้อมูล การประเมินคุณค่าประโยชน์ต่อสังคมหนหรือตนเอง และสร้างองค์ความรู้สื่อสารบอกต่อสิ่งดี สิ่งที่เป็นประโยชน์ พ่อแม่มีส่วนสำคัญในการเลี้ยงลูกให้มีความฉลาดทางดิจิทัล เช่น สอนให้จัดการตนเองและชื่อเสียง
รู้จักผิดชอบต่อการกระทำบนโลกออนไลน์ เป็นต้น

ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์


จำนวนผู้ดูเรื่องนี้: 2057

เขียนเมื่อ: 27-03-2023 15:49

ที่มา: มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ: มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

ประเภท

  • ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านเด็ก

หมวดหมู่

  • ทักษะในชีวิต

Tags

cyber-bullying ละเมิดเด็กออนไลน์ ภัยออนไลน์

ผู้ใช้ความรู้

  • ผู้บริหารสถานศึกษา
  • ผู้ปกครอง

กลุ่มเป้าหมาย

  • ประถมศึกษาตอนต้น
  • ประถมศึกษาตอนปลาย
  • มัธยมศึกษาตอนต้น
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ผู้ปกครอง

ระดับความง่ายในการนำไปใช้งาน: ใช้ได้ทันทีด้วยตนเอง

คำแนะนำการใช้:

-





ชุดความรู้นี้ นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนของท่านได้มากน้อยแค่ไหน?