ขนมปังกับแยม : ส่งต่อความมั่นใจจากเด็กหญิงสู่วัยสาว
วิดีโอการ์ตูน สื่อการเรียนการสอนเรื่องการใช้ผ้าอนามัย ในเด็กหญิงวัย 8-10 ปี ร่างกายจะเริ่มสร้างฮอร์โมนเพศทำให้ร่างกายและอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น การมีประจำเดือน การใช้ผ้าอนามัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรต้องรู้ไว้

สื่อการเรียนการสอนเรื่องการใช้ผ้าอนามัย ในเด็กหญิงวัย 8-10 ปี ร่างกายจะเริ่มสร้างฮอร์โมนเพศทำให้ร่างกายและอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น การมีประจำเดือน การใช้ผ้าอนามัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรต้องรู้ไว้
เมื่อเด็กผู้หญิงสู่วัยสาวสิ่งที่เปลี่ยนแปลง
ด้านจิตใจ เริ่มสนใจเพศตรงข้ามมากขึ้น
ด้านร่างกาย
- มีหน้าอก
- สะโพกพาย
- มีขนที่รักแร้และบริเวณหัวหน่าว
การเปลี่ยนแปลงร่างกายของเด็กผู้หญิง ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเพศหญิง เมื่ออายุ 8-10 ปี เป็นเลือด"ประจำเดือน" เดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 3-7 วัน
ผ้าอนามัยกับแผ่นอนามัยต่างกันอย่างไร?
- แผ่นอนามัย ออกแบบมาเพื่อ ซึมซับระดูขาว
- ผ้าอนามัย ออกแบบมาเพื่อ ซึมซับประจำเดือน
ประเภทผ้าอนามัย
- ผ้าอนามัยแบบมีปีก ช่วยป้องกันการซึมเปื้อนด้านข้าง และไว้แปะติดกับขอบกางเกงชั้นในไม่ให้หลุด หรือเลื่อนได้
- ผ้าอนามัยแบบไม่มีปีก เหมาะสำหรับวันที่อยู่บ้าน ไม่ได้ขยับตัว หรือทำกิจกรรมโลดโผนมากนัก
- ผ้าอนามัยแบบสอด มีลักษณะเป็นแท่งคล้ายแท่งสำลีอัดแข็ง และมีเชือกติดอยู่ที่ส่วนปลาย ใช้ขณะทำกิจกรรมทางน้ำ เช่น ว่ายน้ำ ดำน้ำ
- ถ้วยอนามัย เป็นซิลิโคนมีความยืดหยุ่นและพับได้ สามารถรองรับประจำเดือนได้ยาวนานถึง 12 ชั่วโมง
- ผ้าอนามัยแบบใช้ซ้ำ เหมาะกับผู้มีปัญหาผิดแพ้ง่าย คันระคายเคือง ซักได้บ่อย ใช้ซ้ำได้ยาวนาน
- ผ้าอนามัยแบบกลางคืน สำหรับเวลานอน หมดกังวลเรื่องซึมเปื้อน
วิธีใส่ผ้าอนามัย
ทาบด้านแถบกาวติดกับกางเกงชั้นใน แบบมีปีกให้พับปีกทั้งสองข้างติดกับกางเกงชั้นใน และควรเปลี่ยนผ้าอนามัย ทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง
8 สัญญาณเตือน ประจำเดือนกำลังมา
- มีกลิ่นไม่พึงประสงค์
- มีตกขาว
- ปวดศีรษะ
- หน้าอกฟูขึ้น เจ็บคัดตึงเต้านม
- มดลูกขยาย ท้องหนากว่าปกติ
- มีสิวขึ้น
- เมื่อยล้า เหนื่อยง่าย
- อารมณ์แปรปรวน
วิธีบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
- นอนผ่อนคลาย ปล่อยใจสบาย ๆ นวดท้องเบา ๆ
- หาอะไรอุ่น ๆ ประคบท้องและหลัง
- ห้ามยกของหนัก ห้ามออกกำลังกายหักโหม
ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์