กิจกรรมเสริมหลักสูตรการเรียนรู้ สู้ภัยฝุ่นในโรงเรียน
องค์ความรู้สำหรับครูและบุคลากรใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ เพื่อเตรียมมรับมือสถาการณ์ที่มีค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และเสริมสร้างทักษะชีวิตให้กับผู้เรียนเป็นการสร้างพลเมืองตื่นรู้ (Active Citizen)

คู่มือนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นองค์ความรู้สำหรับครูและบุคลากรใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ เพื่อเตรียมมรับมือสถาการณ์ที่มีค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และเสริมสร้างทักษะชีวิตให้กับผู้เรียนเป็นการสร้างพลเมืองตื่นรู้ (Active Citizen) เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจสถานการณ์วิกฤตและสามารถป้องกันตนเองได้อย่างปลอดภัย และสามารถส่งต่อองค์ความรู้ในโรงเรียนให้กับคนในครอบครัวได้อย่างทันทีทันใด
โครงการสร้างการเรียนรู้และการสื่อสารสู้ภัยฝุ่น
เพื่อการปกป้องด้านสุขภาพในโรงเรียนต่อภาวะวิกฤตปัญหาฝุ่นละออง
พื้นที่ต้นแบบ จังหวัด เชียงราย แพร่ แม่ฮ่องสอน พื้นที่วิกฤตและมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน โดยเป็ฯพื้นที่ที่พบจุดความร้อนมากที่สุดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย และเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดค่าฝุ่นละอองสูงอันส่งผลต่อสุขภาพของคนในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ๆ ในโรงเรียน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เด็กมารวมตัวกันและใช้เวลาส่วนมากในโรงเรียน
เหตุผลและความจำเป็น
สืบเนื่องจากความรุนแรงของสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 ที่ปกคลุมทั่งทั้งพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ในช่วยเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยทั่วกัน มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า PM2.5 สามารถสะสมในถุงลมฝอยของปอด และสามารถแทรกซึมเข้าสู่กระแสโลหิตและกระจายไปทั่วร่างกายได้ กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้
บริบทฝุ่นในแต่ละภูมิภาค
สำหรับประเทศไทยปัญหาการเพิ่มขึ้นของค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 ได้เกิดขึ้นในทุก ๆ พื้นที่ของประเทศไทย โดยมีแหล่งกำเนิดและช่วงเวลาที่แตกต่างกัน เช่น ภาคเหนือตอนบน สาเหตุเกิดจากไฟป่า การเผาพื้นที่เกษตร มลพิษจากกิจกรรมในเมือง มลพิษจากการใช้ยานพาหนะ และมลพิษจากภาคอุตสาหกรรม อิทธิพลของการเผาในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร ก็ได้รับผลกระทบจากการเผาไร่อ้อย การจราจรและยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรม
ข้อสังเกต ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร มักอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคมของทุกปี ซึ่งสัมพันธ์กับฤดูกาลเก็บเกี่ยวในพื้นที่เกษตรส่วนใหญ่เลือกวิธีเผา มีความเป็นไปได้ว่าฝุ่นจากการเผาจะพัดเข้าสู่กรุงเทพมหานคร
หลักการจัดการเรียนรู้
การเรียนรู้โดยที่ผู้เรียนได้สะท้อนจากสภาพสิ่งแวดล้อมที่เกิดการเปลี่ยนแปลง นำไปสู่การสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยในตนเองและผู้อื่น ซึ่งผู้เรียนสามารถสร้างทางเลือก ที่จะได้รับความรู้ มีทักษะ และเจตคติที่เหมาะสมในการเตรียมความพร้อม และการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลาย คิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เข้าใจรู้ทันภาวการณ์เปลี่ยนแปลงเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ Interaction กับสิ่งต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากบุคคลอื่น จากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางธรรมชาติ และสื่อต่าง ๆ และมีความสามารถในการส่งผลการเรียนรู้สู่ชุมชน และสามารถสร้างเครือข่ายการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนใกล้เคียงเป็นฐานการเรียนรู้ และร่วมกันตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
- นิยามและความหมาย ฝุ่นคืออะไร
- สาเหตุการเพิ่มขึ้นของค่าฝุ่นละอองอากาศในพื้นที่ ฝุ่นมากจากไหน
- สถานการณ์ PM2.5 ในประเทศไทย
- พื้นที่เสี่ยงต่อการเผาในที่โล่ง และ PM2.5
- ผลกระทบของค่าฝุ่นละอองอากาศ ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันกับสุขภาพของเรา
- ระดับคุณภาพอากาศ
- เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลในการติดตามการเกิดไฟ Fire hotspot
- ระบบธงสุขภาพในโรงเรียน
- องค์ความรู้ภัยฝุ่นสู่ชุมชน
- บทบาทเด็กและเยาวชนแก้ปัญหาภัยฝุ่นอย่างสร้างสรรค์
การจัดกระบวนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่
- ขั้นตระหนักถึงความปลอดภัย
- ขั้นเรียนรู้จากประสบการณ์
- ขั้นปฏิบัติกิจกรรม
- ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ขั้นสรุปการเรียนรู้
- ขั้นประยุกต์สู่วิถีชีวิต
แนวทางการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลในแต่ละการจัดการเรียนรู้ ได้ออกแบบเครื่องมือประเมินผลงานทุกแผนกจิกรรมการเรียนรู้ ที่สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้เรียนได้เรียนรู้โดยได้ผลตามที่กำหนดไว้ในจุดประสงค์การเรียนรู้เพียงใด ครอบคลุมทั้งด้านรู้ ด้านทักษะ กระบวนการ ด้านทัศนคติ
ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์