< กลับหน้าแรก

คู่มือผู้สอนกิจกรรมทางกาย สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ระดับประถมศึกษา (ประเภทบกพร่องทางสติปัญญา)


คู่มือนี้เป็นเครื่องมือสำหรับครูผู้สอนพลศึกษาระดับประถมศึกษา ในการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนพลศึกษาให้เหมาะสมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สร้างโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับเด็กทั่วไปได้อย่างสนุกสนาน และสามารถแก้ปัญหาการเคลื่อนไหวร่ายกายเบื้องต้นได้อย่างถูกวิธี

คู่มือผู้สอนกิจกรรมทางกาย สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ระดับประถมศึกษา (ประเภทบกพร่องทางสติปัญญา) image

จุดมุ่งหมาย

1 ส่งเสริมสุขภาวะที่ดีให้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

2 พัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนให้กับครูผู้สอนพลศึกษาในโรงเรียนร่วม

3 สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและพลศึกษาที่ถูกต้องให้กับครูผู้สอน

4 สร้างความตระหนักในการใช้กิจกรรมทางกายและพลศึกษาในการเป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กที่มีความบพกร่องทางสติปัญญา

5 สร้างโอกาสในเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาได้มีส่วนร่วมในชั้นเรียนในชั่วโมงพลศึกษา

หลักการพลศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

  • ความเสมอภาค ต้องได้เรียนพลศึกษาเหมือนเด็กอื่นๆ
  • คุณภาพ การเรียนการสอนต้องมีคุณภาพ
  • ความเป็นปกติ กิจกรรมนั้น ๆ จะช่วยพัฒนาให้เด็กมีความสามารถเช่นกัน

กิจกรรมทางกาย(Physical Activity) หมายถึง การเคลื่อนไหวใด ๆ ของร่างกายโดยกล้ามเนื้อโครงร่าง ที่ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงาน

ความฉลาดรู้ทางกาย(Physical literacy) หมายถึง การเรียนรู้แบบองค์รวมตลอดชีวิต และนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในบริบทของการเคลื่อนไหว และกิจกรรมทางกายก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิต สังคม และสติปัญญาอย่างบูรณาการ ถือเป็นสัญญาณสำคัญที่จะนำไปสู่การมีสุขภาวะและความสำเร็จในชีวิต ผ่านการเคลื่อนไหวและกิจกรรมทางกาย

กิจกรรมพลศึกษา

เป็นกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการผ่านกระบวนการเรียนรู้ โดยมุ่งให้ผู้เรียนมีพัฒนาการใน 4 มิติ คือ มิติกาย(Physical domain) มิติจิตวิทยา(Psychological domain) มิติสังคม(Social domain) และมิติปัญญา(Cognitive domain)

การจัดบริหารหลักสูตรและการเรียนรู้พลศึกษาและกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญาในสถานศึกษา

การบังคับเรียนรายวิชาพลศึกษา 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ภาคเรียนละ 20 ชั่วโมง ปีละ 40 ชั่วโมง ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการจัดให้เด็กบกพร่องทางสติปัญญาได้เรียนรวมกับเด็กทั่วไป สำหรับเด็กระดับประถมศึกษา ตัวชี้วัดและเนื้อหาสาระเป็นเรื่องของทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานต่าง ๆ ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการเล่นกีฬา จึงสะดวกต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกายทุกระดับ

คุณภาพผู้เรียนที่คาดหวัง

  • มีความรู้และเข้าใจเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ วิธีการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว และกลุ่มเพื่อน

  • มีสุขนิสัยที่ดีในเรื่องการกิน การพักผ่อนนอนหลับ การรักษาความสะอาดอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย การเล่น และการออกกำลังกาย

  • ควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้ตามพัฒนาการในแต่ละช่วงอายุ มีทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางกายอย่างสนุกสนานและปลอดภัย

  • มีทักษะในการเลือกบริโภคอาหาร ของเล่น ของใช้ที่มีผลต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากอุบัติเหตุได้

  • ปฏิบัติตนตามกฎ ระเบียบ ข้อตกลง คำแนะนำ และขั้นตอนต่าง ๆ ให้ความร่วมมือกับผู้อื่นด้วยความเต็มใจ จนงานประสบความสำเร็จ

  • ปฏิบัติตามสิทธิของตนเองและเคารพสิทธิของผู้อื่นในการเล่นเป็นกลุ่ม

  • จัดการกับอารมณ์ ความเครียด และปัญหาสุขภาพได้อย่างเหมาะสม

วิธีสอนพลศึกษาและกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา

การเรียนร่วมในชั้นเรียนพลศึกษา หมายถึง ทุกคนอยู่ในโรงเรียนที่เป็น “ชุมชน” ของผู้เรียน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในเชิงบวกจะเชิญชวนให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่มีความหมาย ซึ่งให้โอกาสหลากหลายสำหรับความสำเร็จของนักเรียนแต่ละคน การเอาใจใส่ต่อสภาพแวดล้อมทางสังคมมีความสำคัญต่อความสำเร็จของการเรียนร่วมในชั้นเรียนพลศึกษา ครูต้องติดตามสภาพแวดล้อมทางสังคมอย่างใกล้ชิด เพื่อปกป้องนักเรียนทุกคนจากการพูดดูถูก การกีดกันหรือการเลือกปฏิบัติ การปรับสภาพแวดล้อมอาจรวมถึงการปรับเปลี่ยนหลักสูตร และการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน จุดเริ่มต้นได้แก่

  • ใช้วิธีการสอนแบบกลุ่มย่อย เช่น สถานีฝึกแต่ละทักษะย่อย

  • เน้นความหลากหลาย และรวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในเป้าหมายของวิชาพลศึกษาหรือกิจกรรมทางกายของคุณครู

  • การวัดความสำเร็จในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เครื่องมือประเมินทักษะ การอภิปรายในชั้นเรียน

  • ให้มีเกมที่ใช้ความร่วมมือ กิจกรรมสร้างทีม

  • เลิกเน้นวิธีการเล่นกีฬาแบบทีมดั้งเดิม และเน้นที่ทักษะ กิจกรรมที่สมรรถภาพที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ทักษะที่นักเรียนสามารถใช้ในเวลาว่างได้ตลอดชีวิต

  • ให้นักเรียนได้แสดงความสามารถส่วนบุคคลด้วยวิธีที่หลากหลายตามเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคนที่กำหนดไว้ในแผนการเรียนรู้หรือกิจกรรมทางกาย

  • การปรับหรือดัดแปลงการออกแบบเกมโดยการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบหนึ่งหรือหลายส่วน

ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์


จำนวนผู้ดูเรื่องนี้: 3538

เขียนเมื่อ: 08-05-2023 17:48

ที่มา: สสส.

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ: ดร.มยุรี ศุภวิบูลย/ ดร.วาสนา คุณาอภิสิทธ/ ดร.เจริญ กระบวนรัตน/ ดร.เกษม นครเขตต/ ดร.สามารถ รัตนสาคร

แคมเปญ

  • เด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ประเภท

  • ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านเด็ก

หมวดหมู่

  • กิจกรรมทางกาย

Tags

กิจกรรมทางกาย พลศึกษา เด็กพิเศษ

ผู้ใช้ความรู้

  • ผู้บริหารสถานศึกษา
  • ครู

กลุ่มเป้าหมาย

  • ประถมศึกษาตอนต้น
  • ประถมศึกษาตอนปลาย

ระดับความง่ายในการนำไปใช้งาน: ใช้ได้ทันทีด้วยตนเอง

คำแนะนำการใช้:

-





ชุดความรู้นี้ นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนของท่านได้มากน้อยแค่ไหน?