< กลับหน้าแรก

การสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Motivation Interview) กรณีวัยรุ่นใช้สารเสพติด


การสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Motivation Interview) เป็นเทคนิคการให้คำปรึกษาที่ตรงไปตรงมา เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง เพื่อสร้างแรงจูงใจในผู้รับสามารถก้าวข้ามความลังเล ไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายและแก้ปัญหาด้วยตนเอง

การสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Motivation Interview) กรณีวัยรุ่นใช้สารเสพติด image

การสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Motivation Interview) เป็นเทคนิคการให้คำปรึกษาที่ตรงไปตรงมา เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง เพื่อสร้างแรงจูงใจในผู้รับสามารถก้าวข้ามความลังเล ไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายและแก้ปัญหาด้วยตนเอง เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการเปลี่ยนแปลง (support self efficacy) ว่าเขาทำได้ เขาเปลี่ยนแปลงได้

การประเมิน stage

  • ขั้นเมินเฉย (pre-contemplation) ไม่ได้มีความสนใจอยากเปลี่ยนแปลง เฉย ๆ ไม่ได้คิดว่าเป็นปัญหา
  • ขั้นลังเลใจ (contemplation) เริ่มมีปัญหาจะเริ่มลังเลใจ
  • ขั้นตัดสินใจ (determination) เริ่มอยากเปลี่ยนแปลง
  • กระทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (action)
  • ขั้นกระทำต่อเนื่อง (maintenance)
  • ขั้นกลับไปสู่พฤติกรรมเดิม (relapse)

ประเมินก่อนว่า ผู้เข้ารับบริการอยู่ stage ไหน เพื่อดูแลและให้คำปรึกษา (intervention) ไปตาม stage เวลาที่เราอยากให้คนคนหนึ่งหยุดพฤติกรรมบางอย่าง เราต้องดู stage of change ของเขาว่าเขารู้สึกกับตัวเองมากน้อยแค่ไหนแล้ว

วิธีการให้คำปรึกษาสำหรับระดับขั้นต่าง ๆ

  • ขั้น Pre-contemplation เขาก็ยังไม่รู้สึกว่าเขาต้องเปลี่ยนแปลงอะไร ไม่คิดว่าเป็นปัญหา เราอาจให้ข้อมูล หรือสอบถามว่ามีกำหนดแผนภาพอนาครอย่างไร
  • ขั้น Contemplation เขาเริ่มคิด เริ่มชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและข้อเสีย
  • ขั้น Determination เขาเริ่มตัดสินใจอยากเปลี่ยน สิ่งที่เราทำคือ สอบถามหรือให้ทางเลือก
  • ขั้น Action เขาลงมือทำแล้ว เราต้องติดตามประเมินความสม่ำเสมอต่อเนื่อง
  • ขั้น Maintenance เมื่อเขาทำได้เกิน 6 เดือน ชื่นชม และพยายามป้องกันการย้อนกลับสู่พฤติกรรมเดิม
  • ขั้น Relapse บางคนอาจไม่มาปรึกษา ถ้ากลับมาก็ให้การสนับสนุนใหม่อีกครั้ง เริ่มทำ motivation interview ตั้งแต่ขั้นแรกใหม่

สรุปขั้นตอนการนำ MI ไปใช้

  • สร้างสัมพันธภาพ
  • กำหนดเป้าหมายของการให้คำปรึกษา
  • กำหนดพฤติกรรมที่ต้องการเปลี่ยนแปลง
  • ผู้รับบริการตัดสินใจ
  • ประเมินความมั่นใจและความพร้อมเปลี่ยนแปลง
  • หาความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง + สร้างความมั่นใจ

ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์


จำนวนผู้ดูเรื่องนี้: 4938

เขียนเมื่อ: 08-05-2023 18:18

ที่มา: ศูนย์ช่วยเหลือสังคม OSCC

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ: อ.พญ.ลลิตา ลีลาทิพย์กุล

ประเภท

  • ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านเด็ก

หมวดหมู่

  • ยาสูบ-แอลกอฮอล์-สิ่งเสพติด

Tags

สิ่งเสพติด

ผู้ใช้ความรู้

  • ผู้บริหารสถานศึกษา
  • ครู
  • นักเรียน
  • ผู้ปกครอง
  • อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย

  • ประถมศึกษาตอนปลาย
  • มัธยมศึกษาตอนต้น
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ผู้ปกครอง
  • อื่นๆ

ระดับความง่ายในการนำไปใช้งาน: ใช้ได้ทันทีด้วยตนเอง

คำแนะนำการใช้:

-





ชุดความรู้นี้ นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนของท่านได้มากน้อยแค่ไหน?