Eat Move Sleep สร้างสมดุลให้สมวัย ฉบับที่ 6 : สามสมดุลลดเสี่ยงโรค NCDs
ชวนพ่อแม่ผู้ปกครองดูแลสุขภาพด้วยการปรับพฤติกรรมเพื่อให้ห่างไกลจากกลุ่มโรค NCDs เริ่มที่สามสมดุล กินดี มีกิจกรรมทางกายอย่างเหมาะสม และนอนให้เพียงพอ

กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable Disease) คือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ แต่เกิดจากปัญหาพฤติกรรม โดยเฉพาะชีวติที่เร่งรีบ ขาดการออกกำลังกาย เน้นกินแต่อาหารสำเร็จรูปและฟาสต์ฟู้ด ไม่มีกิจกรรมทางกาย และไม่มีพื้นที่โล่งแจ้งให้ผ่อนคลายและออกกำลังกาย โรคกลุ่มนี้จะสะสมอาการทีละนิด จนโรคค่อย ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นและกลายเป็นอาการเรื้อรังในที่สุด
วิถีชีวิตเสี่ยงเกิดโรค
- กินอาหารรสหวานจัด เค็มจัด หรือมีไขมันสูง
- ไม่มีกิจกรรมทางกาย
- พักผ่อนไม่เพียงพอ
- มีภาวะเครียด
กินดี ลดเสี่ยงโรค
จากการสำรวจพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารของคนไทย พบว่าส่วนใหญ่เลือกซื้ออาหารตามความชอบ รสชาติ หรือเพียงเพราะอยากรับประทาน น้อยคนที่จะคำนึงถึงคุณค่าทางอาหาร
กินดีแบบไหน นักโภชนาการกดไลก์
- อาหารว่างห้ามขาด เด็กต้องกินทุก 3-4 ชั่วโมง อาหารว่างที่มีประโยชน์
- กินอาหารเหมือนพ่อแม่ ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการกินที่ดี ลดปัญหาการกินยาก เลือกกิน
- กินพอดี คำนวณแต่ละมื้อให้พอดีกับพลังงานที่จะใช้ในแต่ละวัน
- ตัวอย่างที่ดี พ่อแม่ผู้ปกครองมีอิทธิพลกับเด็ก ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการเลือกและกินอาหารเพื่อสุขภาพ
- งดจอระหว่างมื้ออหาร งดจอระหว่างกินข้าวและสร้างบรรยากาศบนโต๊ะอาหารให้สร้างสรรค์
- กำจัดสภาพแวดล้อมเสี่ยงอ้วน สร้างสภาพแวดล้อมการกินเพื่อสุขภาพ ทั้งในตู้เย็นและบนโต๊ะอาหาร
ลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม ห่างไกล NCDs
แค่ขยับเท่ากับช่วยลดอ้วน
ปัจจัยที่ทำให้เกิดกลุ่มโรค NCDs คือการไม่มีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ เพราะทำให้มีไขมันสะสมในร่างกายมากและระบบการเผาผลาญทำงานไม่ดี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย
”อ้วน” แล้วเริ่มกิจกรรมทางกายแบบไหนดี
- กิจกรรมที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก
- มีแรงกระแทกน้อย
- เริ่มจากเบาไปหนักขึ้น
- มีกิจกรรมทางกายระดับที่เหนื่อย แต่ยังพูดเป็นประโยคได้
- ผ่อนคลายหลังมีกิจกรรมทางกาย
จ้ำม่ำน่ารัก แต่ขี้โรค
- เกิดกลุ่มโรค NCDs โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง
- กระทบระบบทางเดินหายใจ อาจเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับ ทำให้เด็กนอนไม่เพียงพอ
- เสี่ยงติดเชื้อง่าย เมื่อป่วยจะมีอาการหนัก อาจจะเสี่ยงติดเชื้อจนเสียชีวิต
- กระทบการเรียนรู้ กระทบกับสมองส่วนฮิปโปแคมปัสและสมองส่วนหน้า ทำงานผิดปกติ
- เสีย Self อาจโดนเพื่อนล้อเรื่องรูปร่างหรือทำกิจกรรมไม่ทันเพื่อน ทำให้สูญเสียความั่นใจจนกลายเป็นความเครียดสะสม
แค่นอนพอ ก็พร้อมสู้โรค
3 ข้อสังเกต เมื่อคืนเด็กนอนพอไหม์
- ตื่นมาตอนเช้า รู้สึกไม่สดชื่น อยากจะนอนต่อ
- ระหว่างวันมีอาการง่วงเหงาหาวนอนอยู่เรื่อย ๆ
- ถ้ามีโอกาสได้นอนช่วงกลางวัน อาจจะหลับได้ภายใน 5 นาที
นอนน้อย เสี่ยงโรค!
การนอนน้อยมีผลอย่างมากต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ ยังมีผลต่อคุณภาพชีวิตด้านอื่น ๆ ตามมาด้วย
- ร่างกายเติบโตช้า ไม่สมวัย เพราะฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโตถูกสร้างน้อยลง
- น้ำหนักเกิน มีงานศึกษาพบว่าเด็กที่นอนดึกเป็นประจำ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1.5-2.5 กิโลกรัม
- โรคเบาหวาน นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและระดับอินซูลินในเลือดที่สูงขึ้น
- โรคอ้วน มีความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดไม่เพียงพอ จึงทำให้กินมากขึ้น
- ความดันเลือดสูงและโรคหัวใจ มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
นอนเท่าไรก็ไม่พอ สัญญาณนี้ไม่ดีแน่
- กินไม่ดี กินอาหารพวกไขมันเยอะ แคลอรีสูง รู้สึกเนือยเฉื่อยชา
- เครียด กังวล ความเครียดเล็กน้อยสะสม จนรู้สึกเหนื่อยเพลียทั้งร่างกายและจิตใจ
- ป่วย หากเด็กป่วยจะกระทบการนอนหลับ ทำให้เหนื่อยง่าย
- ผลข้างเคียงจากยา อาจทำให้รู้สึกง่วงและเพลียระหว่างวัน
- ปัญหาจากการนอน การหยุดหายใจขณะหลับและอาการกรนส่งผลต่อคุณภาพการนอน
ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์