< กลับหน้าแรก

หนังสือกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)


หนังสือเล่มนี้รวบรวมองค์ความรู้ด้านสุขภาพนำมาวิเคราะห์ จัดระบบเป็นกระบวนการ/ลำดับในการสร้าง กระบวนการเรียนรู้ที่สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพที่พึงประสงค์

หนังสือกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) image

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)

ปี 2560 คณะผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ ความรอบรู้ทางสุขภาวะ หมายถึง ความรอบรุ้และความสามารถด้านสุขภาพ ของบุคคลในการที่จะกลั่นกรองประเมินและตัดสินใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลือกใช้บริการและผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม

สังคมไทยเป็นสังคมแห่งความรอบรู้ด้านสุขภาพ

เป้าหมาย

  1. เพื่อให้ประชาชนไทยทุกคนมีทักษะการเข้าถึง และประมวนข้อมูลสุขภาพเพื่อใช้ประกอบการติดสินใจในการดูแลสุขภาพ
  2. เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมรอบรู้สุขภาพ
  3. เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบสาธารณสุข การศึกษา สวัสดิการ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล เข้าใจ ประเมินและปรับใช้ข้อมูลและบริการต่าง ๆ ในสังคมเพื่อตัดสินใจดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม

กลไกการขับเคลื่อน

  1. การสื่อสาร
  2. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
  3. การสร้างความผูกพัน
  4. การเรียนรู้แบบเสริมพลัง

ตัวชี้วัด

  1. ปริมาณข้อมูลสุขภาพที่เป็นเท็จและถูกเผลแพร่มีน้อยลง
  2. ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพมากขึ้น
  3. พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในประชาชนทุกลุ่มวัยเพิ่มขึ้น
  4. ประชาชนมีอัตราการเจ็บป่วยลดลง
  5. ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายสุขภาพด้านการรักษาพยาบาลลดลง

การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ

การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับบุคคล คือ ประชาชนมีสุขภาพที่ดีด้วยการดูแลตนเองได้ การสร้างเสริมความสามารถของบุคคลจะต้องมีการกำหนดสมรรถนะที่จำเป็นให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่และสังคม โดยเฉพาะสมรรถนะ หรือความสามารถด้านสุขภาพ และ สุขศึกษา เป็นกระบวนการสำคัญที่สุดในการเพิ่มความสามารถของบุคคลให้มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เพียงพอ

กระบวนการเรียนรู้ที่สร้างเส่ริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ

  1. การสร้างระบบที่ช่วยเพิ่มอัตราการอ่านหนังสือของประชาชน
  2. การสร้างองค์ความรู้และเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
  3. พัฒนากลไกและกระบวนการตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร ความรู้และบริการด้านสุขภาพ
  4. การออกแบบและตรวจสอบคุณภาพสื่อ
  5. เพิ่มการใช้ข้อมูลข่าวสารความรู้ด้านสุขภาพให้เกิดพลัง
  6. การใช้กลวิธีสุขศึกษา

กลวิธีสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับบุคคล

  • เทคนิคการใช้ภาพ
  • เทคนิคการสอนกลับ
  • การแสดงเพื่อให้ตรวจสอบ
  • วิธีการตรวจสอบตามรายการ
  • เครื่องมือตรวจสอบและบันทึกคะแนน
  • การใช้คำถามสำคัญ 3 ข้อ
  • การสร้างบรรยากาศให้เกิดความกล้าที่จะถาม

แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนา

  • โมเดลข้อมูลข่าวสาร การจูงใจ และทักษะทางพฤติกรรม
  • พฤติกรรมสารสนเทศ
  • ทฤษฎีลำดับขั้นการเปลี่ยนแปลง

  • ขั้นเมินเฉย ไม่ตระหนักรู้

  • ขั้นลังเลใจ/ตระหนักรู้
  • ขั้นเตรียมการ/ตัดสินใจทำ
  • ขั้นลงมือทำ
  • ขั้นกระทำต่อเนื่อง
  • ขั้นคงไว้ซึ่งพฤติกรรม

กระบวนการช่วยเปลี่ยนแปลง

  1. ปลูกจิตสำนึก
  2. ใช้การเล่นละคร
  3. การใคร่ครวญผลต่อตนเอง
  4. การใคร่ครวญผลต่อสังคมรอบข้าง
  5. การปลดปล่อยตนเอง
  6. การปลดปล่อยสังคม
  7. ให้เรียนรู้สิ่งตรงกันข้าม
  8. บังคับให้ทำสิ่งที่ดีกว่าทางอ้อม
  9. จงใจใช้แผนกระตุ้น
  10. กัลยาณมิตร คอยสนับสนุน

ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์


จำนวนผู้ดูเรื่องนี้: 1183

เขียนเมื่อ: 19-05-2023 16:57

ที่มา: สสส.

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ: สสส.

ประเภท

  • ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านเด็ก

หมวดหมู่

  • สุขอนามัยพื้นฐาน

Tags

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ Health-Literacy

ผู้ใช้ความรู้

  • ผู้บริหารสถานศึกษา
  • ครู
  • ผู้ปกครอง
  • ชุมชน-พื้นที่
  • อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย

  • ปฐมวัย
  • ประถมศึกษาตอนต้น
  • ประถมศึกษาตอนปลาย
  • มัธยมศึกษาตอนต้น
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ผู้ปกครอง
  • อื่นๆ

ระดับความง่ายในการนำไปใช้งาน: ใช้ได้ทันทีด้วยตนเอง

คำแนะนำการใช้:

-





ชุดความรู้นี้ นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนของท่านได้มากน้อยแค่ไหน?