คู่มือจัดกิจกรรม “สุขเป็น”
เครื่องมือในการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิตที่ดี โดยใช้แนวคิดของจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) มาออกแบบกิจกรรมในโครงการ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่ผู้ปฏิบัติงาน ให้หันมาสนใจกับการดูแล “ใจ” ของตนเองและผู้ที่ตนไปสัมพันธ์

การจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้จิตวิทยาเชิงบวก หรือ “สุขเป็น” หากจะให้ได้ผล ผู้นำไปใช้ควรได้รับการเตรียมเรื่องทัศนคติเชิงบวก การสร้างการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเอง
กิจกรรมสุขเป็นแบ่งออกเป็น 7 หมวดตามทักษะสร้างสุข เป็นกิจกรรมที่ออกแบบเพื่อสร้างการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้ดำาเนินกิจกรรมมีบทบาทในการจัดกระบวนการ บรรยากาศ และกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความคิดเห็นด้วย การเคารพและให้เกียรติทุกความคิดเห็น ไม่ติดสิน หรือชี้นำาให้คล้อยตาม แต่เป็นการตั้งคำาถามที่ให้ผู้เข้าร่วมได้คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ด้วยตนเอง
แนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology)
จิตวิทยาเชิงบวก คือ แขนงหนึ่งของงานจิตวิทยาที่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาปัจจัยที่ทำให้มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข และแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มขีดความสามารถ เป็นศาสตร์ที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิต ส่งเสริมความรู้สึกและความสัมพันธ์เชิงบวก การเติมเต็มชีวิตและการเติบโตรอบด้านทั้งทางจิตใจ จิตวิญญาณและทางสังคมขอมนุษย์
PERMA Model
มาร์ติน เซลิกแมนได้เสนอโมเดลที่อธิบายองค์ประกอบสำคัญต่อการมีสุขภาวะที่ยั่งยืน เรียกว่า PERMA model ซึ่งมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
-
ความรู้สึกเชิงบวก (P - Positive Emotion เช่น สนุก ตื่นเต้น รัก ภาคภูมิใจ มีความหวัง มีแรงบันดาลใจ ท้าทาย ชื่นชมตนเอง และชื่นชม ผู้อื่น การจัดการตนเองเพื่อขยับออกจากการตอบสนองในทางลบไปสู่การขยายความรู้สึกเชิงบวกและเพิ่มความพึงพอใจในชีวิต
-
ความรู้สึกมีส่วนร่วม-เป็นเจ้าของในสิ่งที่ทำ(E – Engagement) ได้ใช้ทักษะตามความถนัดและความสนใจอย่างเต็มความสามารถด้วยความรู้สึกมีส่วนร่วม มีส่วนในการรับผิดชอบ มีส่วนในการเป็นเจ้าของงานและได้พัฒนาความสามารถสร้างความเชี่ยวชาญ จากกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำาวัน ที่จะสร้างความรู้สึกปิติสุขอย่างเหลือล้น รู้สึกเติมเต็ม และรู้สึกถึงการบรรลุความตั้งใจของตนเอง
-
ความสัมพันธ์เชิงบวก (R – Positive Relationship) เป็นพื้นฐานสำคัญ ของการมีสุขภาวะ ในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในครอบครัวและสังคมที่สร้างความรู้สึกทางบวกมากกว่าทางลบ มีความร่วมมือร่วมใจ (Collaboration) มีการสื่อสาร การแบ่งปันทุกข์สุข รู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดถึงจุดมุ่งหมายและคุณค่าของชีวิต ความพึงพอใจในชีวิต
-
การรับรู้ถึงความหมายและคุณค่า (M – Meaning) บุคคลจะรับรู้ ความหมายและคุณค่าของตนเองและชีวิตผ่านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง จากการได้ทำเพื่อผู้อื่น การได้ทำาตามอุดมการณ์ เมื่อบุคคลได้ตระหนักถึงจุดมุ่งหมายในชีวิตและรับรู้ว่าตนได้ดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและคุณค่าที่ตนยึดถือ จะช่วยให้เกิด ความอิ่มเอมใจ สร้างความนับถือตนเอง
-
การบรรลุเป้าหมาย (A – Accomplishment) คือ การที่บุคคลรับรู้ความสำเร็จหรือได้ทำาจนเสร็จสิ้นตามที่ตนตั้งใจ เป็นความสำเร็จเสร็จสิ้นที่ไม่ได้วัดจากกฎเกณฑ์จากสังคม เช่น ได้ประสบการณ์ตรง ได้เรียนรู้ ได้พัฒนาฝีมือ รวมถึงเรื่องสำคัญอย่างเช่น ได้บรรลุเป้าหมายของชีวิต
คุณลักษณะเด่น (Character Strengths)
บุคคลที่รู้จักจุดแข็งและได้ใช้จุดแข็งของตนอยู่บ่อยๆ จะรู้สึกเป็นสุขมากกว่า มีความนับถือตนเองมากกว่า และบรรลุเป้าหมายมากกว่าคนที่ไม่รู้จักเข้าใจตนเอง คุณลักษณะเด่นที่ถูกจัดจำแนกเป็น 24 คุณลักษณะได้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลว่าแต่ละคนมีชุดคุณลักษณะจำนวนหนึ่งที่แสดงออกเป็นประจำจนกลายเป็นบุคลิกลักษณะเฉพาะตัว และถึงแม้จะมีคุณลักษณะอย่างเดียวกันแต่การแสดงออกของแต่ละบุคคลยังมีความหลากหลายไปตามบริบทของชีวิต
7 ทักษะสำคัญในการสร้างสุข
การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลเพื่อส่งเสริมสุขภาวะผ่านงานจิตวิทยาเชิงบวก จำเป็นต้องทำาควบคู่ ไปกับงานนโยบายและการออกแบบเชิงระบบนิเวศ เพื่อสร้างพื้นที่และสิ่งแวดล้อมทั้งกายภาพและชีวภาพที่ส่งเสริมแรงจูงใจและความต่อเนื่องของการปฏิบัติเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงภายในบุคคลปรากฎผลให้เห็นได้ในวงกว้าง
-
การมองโลกในแง่ดี (Optimism) เป็นการฝึกให้มองเห็นกระบวนความคิดที่บุคคลจะเลือกตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบ ไม่ว่าสิ่งกระทบนั้นจะมาจากบุคคลอื่น สถานการณ์ หรือแม้แต่ความคิดของตนเองที่ผุดขึ้นมา สามารถรู้ตัวได้ทันว่าปฏิกิริยาทางกาย อารมณ์ ความคิดและพฤติกรรมที่ตอบสนองสิ่งมากระทบนั้นเป็นการไหลไปโดยอัตโนมัติตามประสบการณ์เดิมในอดีต หรือมาจากความตั้งใจเลือกทัศนคติมุมมองที่ตนต้องการ
-
ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ (Gratitude) เป็นความรู้สึกซาบซึ้งยินดีที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำาของผู้อื่น หรือจากสิ่งที่ได้พบเห็นในธรรมชาติที่ไม่มีผู้ทำาชัดเจน การฝึกให้รับรู้ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ ต้องอาศัยประสบการณ์ตรง สร้างการเรียนรู้ผ่านความรู้สึก ขยายการรับรู้และการได้อยู่กับตัวเอง
-
วิธีคิดเรื่องการเติบโต (Growth mindset) ความคิดเพื่อการเติบโตเป็นมุมมองความเชื่อว่าตนเองสามารถเปลี่ยน แปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้ด้วยการเรียนรู้ ปรับตัว ลงมือทำ ให้ความสำคัญกับความพยายามและความคืบหน้า เห็นความผิดพลาดล้มเหลวเป็นแบบฝึกหัดเพื่อที่จะพัฒนาต่อไป และต้องการได้รับฟีดแบคเพื่อให้สามารถนำาไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป
-
ล้มแล้วลุกได้ (Resilience) เป็นทักษะทำาให้บุคคลสามารถรักษากำาลังกายกำาลังใจในการใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในยามปกติและยามที่ต้องประสบกับความบีบคั้นหนักหน่วงทั้งใจและกาย แม้ในยามที่ล้มลุกคลุกคลานก็ยังสามารถลุกขึ้นมาได้อีกเสมอ ทำให้เป็นผู้ที่สามารถยืนหยัดไม่ท้อแท้ง่าย สามารถฟื้นฟูจิตใจให้กลับมาสู่โหมดปกติได้เร็ว
-
รู้จักและพัฒนาคุณลักษณะ เด่น/จุดแข็ง (Character Strengths) เป็นทักษะที่มุ่งให้รู้จักตัวเองเพื่อให้สามารถพัฒนาจากจุดแข็ง ทำให้เข้าใจความหมาย มองเห็นประโยชน์และคุณค่าของการที่บุคคลได้ใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับคุณลักษณะเด่นของตนเอง และขณะเดียวกันยังสร้างความสมดุลที่จะป้องกันไม่ให้จุดแข็งถูกนำมาใช้มากเกินไปหรืออย่างไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จนกลายเป็นจุดอ่อน
-
การอยู่กับปัจจุบัน (Mindfulness) บุคคลสามารถตระหนักรู้ตัวในทุกขณะถึงการปรากฏขึ้นของความคิด ความรู้สึก รับรู้สัมผัสทางร่างกาย รวมถึงรับรู้สิ่งแวดล้อมภายนอกด้วยความสงบนิ่งภายในใจ เป็นการรู้เห็นที่ว่องไวและเห็นอย่างนั้นไม่ได้ตามคิดตัดสินดีชั่วหรือต่อเสริมเติมแต่งไปตามความคิดและรู้สึก
-
การมีความสัมพันธ์อย่างรับผิดชอบ (Relationship and Accountability) นอกจากจะรับผิดชอบต่อผลของการกระทำาที่กระทบต่อผู้อื่นแล้ว เรายังต้องรับผิดชอบ ”ตัวเอง” หมายถึง การที่แต่ละบุคคลในความสัมพันธ์มีทัศนคติและความเข้าใจพลวัตรทางความคิดความรู้สึกว่า “ความคิดความรู้สึก ความปลอดภัยของเราเป็นความรับผิดชอบของเรา”
กิจกรรมเสริมการเรียนรู้ (เกม)
- เกมเศรษฐีสุขเป็น
- บันไดงูสุขเป็น
- เซียมซีมีสุข
คลิ๊กดู Infographic เพิ่มเติม ได้ที่นี่เลย
ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์