< กลับหน้าแรก

คัมภีร์ป้องกันลูกติดเกม


คู่มือสำหรับผู้ปกครอง เรื่องการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ของเด็กและวัยรุ่น

คัมภีร์ป้องกันลูกติดเกม image

“เกม” ในคู่มือเล่มนี้ หมายถึง เกมคอมพิวเตอร์ วิดีโอเกมหรือเกมดิจิทัล ที่เล่นผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทั้งสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก เครื่องเล่นเกมพกพา เครื่องเล่นเกมผ่านจอโทรทัศน์ รูปแบบการเชื่อมต่อมีทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ทั้งที่เล่นคนเดียวและเล่นหลายคน

เกมมีหลายประเภท ผู้ปกครองควรจะทราบได้ว่าเกมนั้น ๆ เหมาะสมกับช่วงอายุเด็กหรือไม่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร มีฉากความรุนแรง ยาเสพติด เพศ การพนัน ภาษาที่ไม่เหมาะสม อยู่ในเกมหรือไม่ วิธีการเล่น ตัวละคร วิธีการดำเนินเรื่องหรือประสบการณ์ของผู้เล่นคนอื่น ๆ เป็นอย่างไร เพื่อให้เข้าใจโลกของเกมที่เด็กเข้าไปอยู่มากขึ้น

โรคติดเกม (Gaming Disorder)

เป็นการเสพติดทางพฤติกรรม หมายถึง พฤติกรรมที่ทำซ้ำ ๆ และต่อเนื่องที่มีลักษณะดังนี้

  1. ไม่สามารถควบคุมการเล่นเกมของตนได้
  2. ให้ความสำคัญกับการเล่นเกมมากกว่ากิจวัตรประจำวันต่าง ๆ
  3. ยังคงเล่นเกมหรือเล่นมากขึ้นทั้งที่การเล่นเกมนั้นก่อให้เกิดผลเสียกับตนเอง

สาเหตุของการติดเกม

  1. ตัวเด็กเอง
  2. ครอบครัว
  3. สังคมและเกม

สัญญาณเตือนของการติดเกม

  1. ใช้การเล่นเกมเพื่อแก้เบื่อ แก้เซ็ง จัดการอารมณ์ทางลบบ่อย ๆ
  2. หงุดหงิด กระสับกระส่าย กระวนกระวายเมื่อไม่สามารถเล่นเกมได้ หรือถูกบอกให้หยุดเล่น
  3. หมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกม
  4. เล่นเกมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่สามารถรับผิดชอบหน้าที่หรือทำกิจกรรมอื่นน้อยลง
  5. ยังคงเล่นเกมอยู่แม้จะเริ่มมีปัญหาเกิดขึ้น

ผลกระทบของการติดเกม

  • ผลกระทบต่อสมอง สมองของเด็กติดเกมมีการเปลี่ยนแปลงคล้ายคลึงกับสมองของผู้ที่ติดสารเสพติดทั้งในแง่โครงสร้างสารสื่อประสาทและการทำงานของสมอง ทำให้ความสามารถในการควบคุมตนเอง ควบคุมอารม์ลดลงด้วย
  • ผลกระทบต่อร่างกาย ภาวะอ้วน ปัญหาการนอน ปัญหาทางสายตา ปัญหาระบบกล้ามเนื้อและกระดู
  • ผลกระทบต่ออารมณ์และพฤติกรรม พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง การเข้าสังคมลดลง โรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า การใช้สารเสพติด

สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำ

  • ใช้คำพูดส่งเสริมให้เด็กมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
  • กำหนดพื้นที่ที่เด็กห้ามใช้มือถือ เช่น บนโต๊ะอาหาร ในห้องนอน
  • ฝึกให้เด็กรู้จักแบ่งเวลาและมีระเบียบวินัย
  • สอดส่องและศึกษาเกี่ยวกับเกมที่เด็กเล่นว่าเหมาะสมหรือไม่
  • มีกิจกรรมสนุกสนานที่สมาชิกในครอบครัวร่วมกันทำ

ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์


จำนวนผู้ดูเรื่องนี้: 350

เขียนเมื่อ: 10-06-2024 18:16

ที่มา: กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ: กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ประเภท

  • ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านเด็ก

หมวดหมู่

  • สุขภาพจิต
  • ทักษะในชีวิต

Tags

เกม ติดเกม ผู้ปกครอง

ผู้ใช้ความรู้

  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  • ผู้บริหารสถานศึกษา
  • ครู
  • นักเรียน
  • ผู้ปกครอง
  • ชุมชน-พื้นที่
  • อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย

  • ปฐมวัย
  • ประถมศึกษาตอนต้น
  • ประถมศึกษาตอนปลาย
  • มัธยมศึกษาตอนต้น
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ผู้ปกครอง
  • อื่นๆ

ระดับความง่ายในการนำไปใช้งาน: ใช้ได้ทันทีด้วยตนเอง

คำแนะนำการใช้:

-





ชุดความรู้นี้ นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนของท่านได้มากน้อยแค่ไหน?