< กลับหน้าแรก

แบบไหนที่เรียกว่าติดเกม


คลิปวิดีโอ เมื่อเด็กเริ่มมีพฤติกรรมเสพติดเกม พ่อแม่ควรพูดคุยทำความเข้าใจกับเด็ก ติดตามผลการเรียน และสภาวะอารมณ์เบี่ยงเบนความสนใจด้วยกิจกรรมทดแทน ส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกในครอบครัวเสียแต่เนิ่น ๆ หากพบความผิดปกติทางพฤติกรรม และอารมณ์ที่เริ่มมีความรุนแรง ควรพาไปพบจิตแพทย์

แบบไหนที่เรียกว่าติดเกม image

ติดเกมส์ (Game Addiction) คือ การเล่นเกมมากจนไม่สามารถควบคุมระยะเวลา หรือความถี่ในการเล่นเกมได้ พยายามเพิ่มเวลาเล่นเกมมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้ความสำคัญกับการเล่นเกมมากกว่าสิ่งอื่นใดในชีวิต มีการเล่นเกมอย่างต่อเนื่อง แม้จะเกิดผลกระทบด้านลบแล้วก็ไม่สามารถลดหรือเลิกเล่นเกมได้

ส่วนใหญ่เด็กติดเกมจากการเล่นเกมผ่านอินเตอร์ทั้งสิน โดยจะมีอาการสำคัญ ได้แก่ ใช้เวลาเล่นเกมมากเกินไป หมกมุ่น เกิดความเครียด เลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าว ใช้ความรุนแรง มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นจากการเล่นเกม ขาดการควบคุมตนเองในการใช้ชีวิตปกติ เช่น การกิน การนอน ส่งผลกระทบต่อการเรียนและการทำงาน มีปัญหาด้านสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง อาจมีปัญหา ขโมยเงิน หรือก่ออาชญากรรมเพื่อหาเงินมาเล่นเกม ติดเหล้า/สารเสพติด ซึมเศร้า จนถึงคิดฆ่าตัวตาย

องค์การอนามัยโลก (WHO-Word Health Organization) ได้ระบุการติดเกมเป็นโรคทางสุขภาพจิต หรือเรียกว่า Gaming Disorder

ติดเกมป้องกันได้

ควรฝึกวินัยและความรับผิดชอบควบคุมตนเอง จำกัดเวลาเล่นเกมแต่ละครั้ง ไม่ควรเกิน 1-2 ชั่วโมง พ่อแม่ควรช่วยลูกเลือกเกมที่เหมะสม ช่วยประคับประคองให้ลูกได้ฝึกควบคุมตนเองในการเล่นเกมอย่างพอเหมาะพอดี และควรส่งเสริมการเล่นกีฬากลางแจ้งหรือกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อทดแทนการเล่นเกมและป้องกันการติดเกม

12 สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำเพื่อป้องกันเด็กติดเกม

  1. ให้ความรักความอบอุ่น และเวลาที่มีคุณภาพกับเด็ก
  2. สอดส่องและศึกษาเกี่ยวกับเกมที่เด็กเล่นว่ามีเนื้อหาเหมาะสมหรือไม่
  3. เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้สื่อออนไลน์
  4. กำหนดพื้นที่ที่เด็กห้ามใช้มือถือ เช่น ในห้องนอน มุมทำการบ้าน โต๊ะอาหาร เป็นต้น
  5. ใช้คำพูดส่งเสริมให้เด็กรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (Self Esteem)
  6. กำหนดกติการ ระยะเวลาการเล่นเกมและดูและกำกับอย่างสม่ำเสมอ
  7. ศึกษาแอปพลิเคชันสำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ควบคุมการใช้งานออนไลน์ของเด็ก
  8. คนในครอบครัวมีแนวทางเดียวกันในการเลี้ยงดูเด็ก
  9. ฝึกให้เด็กรู้จักแบ่งเวลาและมีระเบียบวินัย

  10. มีกิจกรรมที่สมาชิกในครอบครัวร่วมกันทำ หรือร่วมเล่นเกมกับลูกและชี้ให้เห็นข้อดี ข้อเสียของเกม

  11. สอนให้เด็กมีวิธีคลายเครียดที่หลากหลายและส่งเสริมให้มีงานอดิเรก
  12. ทำความรู้จักกับเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนลูก เพื่อหาเวลาพาเด็กมาทำกิจกรรมร่วมกัน

ทำอย่างไรเมื่อติดเกม

  • พยายามลดเวลาการเล่นเกมลง
  • ควรจำกัดค่าใช้จ่ายในการเล่นเกม
  • ควรส่งเสริมการเล่นกีฬา หรือหากิจกรรมอื่นมาแบ่งเวลาหรือทดแทนการเล่นเกม
  • ประเมินระดับการติดเกมของตนเองหรือหาวิธีป้องกันแก้ไข
  • การติดเกมในระดับรุนแรง จะมีภาพเกมในสมองตลอดเวลา เกิดภาพหลอนเห็นผีปีศาจหรือศัตรู ในเกมที่เล่นออกมาติดตามไล่ล่า ทำร้าย ทำให้หวาดกลัว นอนไม่หลับ อาจถึงขั้นทำร้ายตนเอง หรือคิดฆ่าตัวตาย ควรพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

เมื่อเด็กเริ่มมีพฤติกรรมเสพติดเกม พ่อแม่ควรพูดคุยทำความเข้าใจกับเด็ก ติดตามผลการเรียน และสภาวะอารมณ์เบี่ยงเบนความสนใจด้วยกิจกรรมทดแทน ส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกในครอบครัวเสียแต่เนิ่น ๆ หากพบความผิดปกติทางพฤติกรรม และอารมณ์ที่เริ่มมีความรุนแรง ควรพาไปพบจิตแพทย์

เล่นเกมอย่างไรไม่ให้เกิดโทษ

การเล่นเกมไม่ให้เกิดโทษ ควรกำหนดกฎกติกา เบื้องต้นคือห้ามเด็ดขาดในการใช้เทคโนโลยีหรืออุปกรณ์จอใสต่าง ๆ เป็นพี่เลี้ยงลูก โดยเฉพาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เนื่องจากจะส่งผลให้พัฒนาการล่าช้า ซน สมาธิสั้น นอนไม่หลับ มีอาการของออทิสติกเทียม ฯลฯ

สำหรับเด็กช่วงปฐมวัย ไม่เกิน 5-6 ขวบ อาจใช้สื่อจอเสริมการเรียนรู้ได้ โดยมีครูหรือผู้ปกครองเป็นผู้เลือกสื่อและชี้แนะเด็กไปด้วย เด็กควรได้รับการพัฒนาเรื่องสมาธิและทักษะทางสังคม เรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ในโลกแห่งความเป็นจริง

เมื่อเด็กโตขึ้นก็สามารถใช้สื่อออนไลน์อย่างอิสระได้มากขึ้น แต่ก็ควรมีกฎกติกา สอนทักษะรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล สนับสนุนให้เด็กทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น ชมรมต่าง ๆ ในโรงเรียนมากกว่าอยู่หน้าจอสี่เหลี่ยม

ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์


จำนวนผู้ดูเรื่องนี้: 1131

เขียนเมื่อ: 13-05-2023 14:30

ที่มา: สสส.

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ: มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

ประเภท

  • สื่อและเครื่องมือพร้อมใช้

หมวดหมู่

  • สุขภาพจิต
  • ทักษะในชีวิต

Tags

เกม ติดเกม ติดจอ

ผู้ใช้ความรู้

  • ครู
  • นักเรียน
  • ผู้ปกครอง
  • อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย

  • ปฐมวัย
  • ประถมศึกษาตอนต้น
  • ประถมศึกษาตอนปลาย
  • มัธยมศึกษาตอนต้น
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย
  • อื่นๆ

ระดับความง่ายในการนำไปใช้งาน: ใช้ได้ทันทีด้วยตนเอง

คำแนะนำการใช้:

-





ชุดความรู้นี้ นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนของท่านได้มากน้อยแค่ไหน?