< กลับหน้าแรก

คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Function ในเด็กวัย 7 – 12 ปี สำหรับพ่อแม่และครู


การส่งเสริมทักษะสมอง Executive Functions (EF) เป็นฐานรากที่สำคัญที่สุดของคุณสมบัติ “คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และมีความสุขเป็น” และต่อยอดเป็นทักษะศตวรรษที่ 21

คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Function ในเด็กวัย 7 – 12 ปี สำหรับพ่อแม่และครู  image

คู่มือเล่มนี้เป็นผลจากการจัดการความรู้ร่วมกันของนักวิชาการสหสาขา ที่มอบความรู้และประสบการณ์อย่างเต็มที่ในเรื่องทักษะสมอง EF ของเด็กประถมศึกษา คืออายุตั้งแต่ 7-12 ปี พ่อแม่ผู้ปกครองและคุณครูก็จะได้ความรู้และวิธีปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมที่จะเป็นการส่งเสริมทักษะสมอง EF โดยเนื้อหาจะถูกจัดทำขึ้นมาให้เข้าใจง่าย นำไปใช้ได้ง่าย และสามารถพัฒนาเด็กและนักเรียนได้อย่างดีเยี่ยม

ทักษะสมอง Executive Functions (EF) คืออะไร

Executive Functions (EF) คือ กระบวนการทำงานของสมองระดับสูง ที่ประมวลประสบการณ์ในอดีตและสถานการณ์ในปัจจุบัน มาประเมินวิเคราะห์ตัดสินใจ วางแผน เริ่มลงมือทำ ตรวจสอบตนเอง แก้ไขปัญหา ตลอดจนควบคุมอารมณ์บริหารเวลา จัดความสำคัญ กำกับตนเองและมุ่งมั่นทำจนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ (Goal- Directed Behaviors)

องค์ประกอบของ EF แบ่งออกเป็น 9 ด้าน ได้แก่

กลุ่มทักษะพื้นฐาน

1 Working Memory

2 Inhibitory Control

3 ShiftingหรือCognitive Flexibility

กลุ่มทักษะกำกับตนเอง

4 Focus Attention

5 Emotional Control

6 Self-Monitoring

กลุ่มทักษะปฏิบัติ

7 Initiating

8 Planning and Organizing

9 Goal-Directed Persistence

แนวทางการส่งเสริม EF ในเด็ก

องค์ประกอบสำคัญในการส่งเสริม EF

  1. การสร้างความผูกพันและไว้วางใจให้เกิดขึ้นในใจเด็ก
  2. การดูแลสุขภาพทางกายภาพของสมองให้แข็งแรง
  3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อกูล เหมาะสม
  4. การได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย
  5. การเรียนรู้ทักษะทางสังคม-อารมณ์

ทักษะสมอง EF และสมอง 3 ส่วน

ทักษะสมอง EF มาจากการฝึกฝน

ทักษะสมอง EF เป็นทักษะที่ทำให้คนเราพัฒนามาได้จนถึงทุกวันนี้เพราะจะมีแอนทีเรียร์ซิงกูเลตคอร์เทกซ์ (Anterior Cingulate Cortex: ACC) ทำหน้าที่เหมือนเป็นตัวเซ็นเซอร์รับส่งสัญญาณ เช่น เมื่อพบกับสถานการณ์ที่ใหม่สถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย ACC จะประเมินอารมณ์และแรงจูงใจทันที

ทักษะสมอง EF จะเกิดขึ้นได้ต้องผ่านการฝึกฝนเพราะถ้าฝึกทำไปจนชิน สมองส่วน EF จะบอกว่าไม่ต้องทำแล้วปล่อยให้สมองอื่นๆ ทำงานไปตามปกติไม่ต้องไปควบคุมแล้ว เพราะจะทำออกมาเองได้โดยอัตโนมัติ

รู้จักสมอง 3 ส่วน

  1. สมองส่วนแกน (core brain) บางครั้งอาจเรียกให้เข้าใจง่ายว่าเป็นสมองส่วนสัญชาตญาณหรือสมองแบบสัตว์เลื้อยคลาน reptilian brain) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมีชีวิตรอดของมนุษย์เกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติเช่น การหายใจ

  2. สมองส่วนลิมบิก (limbic brain) บางครั้งเรียกว่าสมองส่วนอารมณ์หรือสมองแบบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม(mammalian brain) เป็นสมองส่วนที่พัฒนาต่อมาจากสมองส่วนแกน ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก การเรียนรู้และจดจำ ที่สามารถจะบอกว่าตัวตนของคนเรานั้นชอบหรือไม่ชอบอะไร

  3. สมองส่วนหน้า (neo-mammalian brain) เป็นพื้นที่ปฏิบัติงานของทักษะสมอง EF-Executive Functions ซึ่งจะเจริญเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 25 ปีทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์วางแผน ตัดสินใจแก้ปัญหา สามารถทำงานร่วมกับสมองอีกสองส่วนได้เมื่อสมองส่วนสัญชาตญาณและสมองส่วนอารมณ์ได้รับความมั่นคงปลอดภัย

จัดสภาพแวดล้อมที่พัฒนาทักษะ (skills) สำคัญ ในศตวรรษที่ 21

Learning Skills สามารถสร้างได้ในเด็กทุกคน แม้แต่ ในเด็กพิเศษ learning skills ประกอบด้วย

  1. criticical thinking คิดวิพากษ์เป็น เริ่มจากการตั้งข้อสงสัย ตั้งคำถาม สำหรับเด็กในวัยนี้ขอเพียงแค่รู้จักถาม ไม่กลัวที่จะถามก็พอแล้ว ยังไม่ต้องไปถึงรู้จักวิจารณ์
  2. communication รู้จักพูด ช่างซักช่างถาม แสดงความคิดเห็น เมื่อสงสัยก็พูดออกมา ไม่กลัว
  3. collaboration การร่วมมือกัน เมื่อพูดสื่อสารกัน เด็กจะรู้ว่ามีมนุษย์คนอื่นที่พูดไม่เหมือนตน ก็จะเกิดการ compete, compromise และ coordinate ทันทีเพราะทางจิตวิทยาบังคับให้ทำ เด็กจะ collaborate กัน ทำงานส่งคุณครูด้วยกัน
  4. creative thinking ผลจากการถกเถียงในกลุ่มอย่างเสรีจะเกิด creative thinking เสมอ เด็กทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ได้เมื่อทำงานเป็นกลุ่ม เกิดจากคำถามบางอย่างจากกลุ่ม จากการแลกเปลี่ยนหรือเถียงกันจนพอใจ

IT Skills

IT skills คือ การรู้จักเสพ รู้จักวิเคราะห์และรู้จักใช้เครื่องมือ สามารถบูรณาการเข้าไปใน Problem-Based Learning ได้

AAR

AAR (After Action Review) คือการเก็บข้อมูล (save document) เข้าสู่สมอง ทุกครั้งที่จบ PBL ครูจะชวนเด็กทำ AAR หรือ reflection(สะท้อน) คำถาม AAR ง่ายๆ เป็นการเขียนด้วยวาจา แล้ว save เข้าไปในสมอง ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นไปอีก ขั้นหนึ่ง เป็นการ save ความรู้สำหรับเด็ก

ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์


จำนวนผู้ดูเรื่องนี้: 2802

เขียนเมื่อ: 28-06-2023 17:47

ที่มา: สสส.

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ: สสส./ สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)

ประเภท

  • ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านเด็ก

หมวดหมู่

  • ทักษะในชีวิต

Tags

Executive-Function Learning-Skills ทักษะศตวรรษที่-21

ผู้ใช้ความรู้

  • ครู
  • ผู้ปกครอง

กลุ่มเป้าหมาย

  • ประถมศึกษาตอนต้น
  • ประถมศึกษาตอนปลาย

ระดับความง่ายในการนำไปใช้งาน: ใช้ได้ทันทีด้วยตนเอง

คำแนะนำการใช้:

-





ชุดความรู้นี้ นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนของท่านได้มากน้อยแค่ไหน?