< กลับหน้าแรก

คู่มือแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียน


การออกกำลังกายนอกจากจะทำให้จิตใจแจ่มใส สนุก เกิดความสุข ลดภาวะเครียดแล้ว หากมีกิจกรรมทางกายหรือมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สามารถลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ติดจอ อาการซึมเศร้า ลดความเสี่ยงโรคอ้วนและโรคอื่นๆได้ รวมถึงยังส่งผลด้านบวกต่อการพัฒนาทั้งทักษะและพฤติกรรม 5 มิติ คือ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว, ด้านการคิดวิเคราะห์, ด้านการสื่อสารและทักษะชีวิต, ด้านอารมณ์และสังคม และความสามารถทางวิชาการ

คู่มือแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียน image

คู่มือแนวคิดการส่งเสิรมกิจกรรมทางกายเชิงระบบ 4PC

เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้โรงเรียนสามารถนำกิจกรรมทางกายมาออกแบบให้เข้ากับการเรียนการสอนและการเรียนรู้ต่างๆของโรงเรียน รวมถึงแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนในการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนได้รับโอกาสและมีกิจกรรมทางกายอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ

เนื้อหาของคู่มือประกอบด้วย

  • 5 องค์ประกอบการดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียน ด้วยแนวคิดการส่งเสิรมกิจกรรมทางกายเชิงระบบ 4PC คือ 1) นโยบายส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายในทุกโอกาส (Active Policy) 2) บุคลากรที่มีความกระฉับกระเฉงตื่นรู้ (Active People) 3) แผนกิจกรรมฉลาดเล่น (Active Program) 4) พื้นที่ส่งเสริมการเล่น (Active Place) และ5) ห้องเรียนฉลาดรู้ (Active Classroom)

  • ตัวอย่างความสำเร็จของกานส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียน : กรณีตัวอย่างโครงการโรงเรียนฉลาดเล่น

  • แบบประเมินความพร้อมก่อนการดำเนินการโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ลิงก์ไปยังเนื้อหา: กดเพื่อเรียกลิงก์


จำนวนผู้ดูเรื่องนี้: 2845

เขียนเมื่อ: 30-12-2021 12:26

ที่มา: ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย

ผู้เขียน/ผู้จัดทำ: ศุนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย(ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ประเภท

  • ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านเด็ก

หมวดหมู่

  • กิจกรรมทางกาย

Tags

"4PC" "60-นาทีต่อวัน" "โรงเรียนฉลาดเล่น"

ผู้ใช้ความรู้

  • ผู้บริหารสถานศึกษา
  • ครู

กลุ่มเป้าหมาย

  • ประถมศึกษาตอนต้น
  • ประถมศึกษาตอนปลาย
  • มัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับความง่ายในการนำไปใช้งาน: ใช้ได้ทันทีด้วยตนเอง

คำแนะนำการใช้:

ใช้คู่กับหนังสือคู่มือสารตั้งต้น เล่ม 1 “สนามฉลาดเล่น” และ สารตั้งต้น เล่ม 2 “ห้องเรียนฉลาดรู้” เพื่อออกแบบแผนกิจกรรมฉลาดเล่น





ชุดความรู้นี้ นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนของท่านได้มากน้อยแค่ไหน?