เข้าใจ “เพศวิถีศึกษา” เด็กรู้-รอด-ปลอดภัย
เขียนเมื่อ: 06-01-2022 14:15 โดย ศศิตา ปิติพรเทพิน
“อยากเห็นทุกคนผ่านพ้นช่วงที่ไม่ดีของชีวิตไปได้ การจะผ่านพ้นไปได้เด็กต้องมีองค์ความ มีประสบการณ์ อย่างน้อยก็มีทางโรงเรียนจัดประสบการณ์ให้ อาจเป็นบทบาทสมมติหรืออะไรก็แล้วแต่ เรามีแนวทางแล้วเกิดประสบปัญหาจะได้มีแนวทางแก้ไขที่ถูกต้อง ไม่ต้องลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง ชีวิตของเราก็จะดีขึ้น ไม่จมอยู่กับความไม่พร้อมหรือถึงแม้เราเลือกผิดก็อาจกลับตัวขึ้นมาใหม่ได้หากมีแนวทางที่ถูกต้อง”

เข้าใจ “เพศวิถีศึกษา” เด็กรู้-รอด-ปลอดภัย วัยรุ่นปัจจุบันเติบโตท่ามกลางสิ่งเร้ามากมาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ทำให้เด็กเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้ง่ายขึ้นโดยขาดการกลั่นกรองไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์การพนัน เกม สื่อโป๊ หรือโซเชียลมีเดีย ที่เสี่ยงต่อการถูกล่อลวง ฯลฯ ทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษาตระหนักว่า ควรมีแนวทางสร้างความรู้ให้เด็กได้รู้เท่าทันภัยอันตราย จึงเกิดโครงการเพศวิถีศึกษาหลักสูตร พัฒนาศักยภาพครูผู้สอนเพศวิถีแบบออนไลน์ มีการปรับปรุงแก้ไขการสอนสุขศึกษาในแบบเรียนเอกชนเป็นโครงการ พัฒนาการเรียนรู้แบบ Electronic Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูสอนเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตใน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โครงการนี้ดำเนินการโดยสำนักมาตรฐานและวิชาการศึกษา และศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองแล ช่วยเหลือนักเรียนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ร่วมกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ โดยการ สนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งการดำเนินโครงการฯ สอดคล้อง พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพ.ศ .2559 ที่กำหนดเรื่องการจัดการเรียนการ สอน และพัฒนาผู้สอนเพศวิถีศึกษา จัดรายวิชาสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาให้ครบ ได้แก่ 6 มิติ
1.การพัฒนาการของมนุษย์
2.สัมพันธภาพ 3.ทักษะส่วนบุคคล
4.พฤติกรรมทางเพศ
5.สุขภาพทางเพศ
6.สังคม และวัฒนธรรม
การเสริมทักษะสำคัญต่อการสร้างพื้นฐานชีวิตเด็ก กุหลาบ ฮ่องลึก ศึกษานิเทศก์สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 36 (สพม.เชียงรายเขต-พะเยา) เป็น ศน.ใหม่ที่มีความกระตือรือร้น รับผิดชอบกลุ่มสาระสุขศึกษา เพศวิถีศึกษาออนไลน์ มีความคล่องแคล่วในการจัดทำเครื่องมือติดตามผ่านระบบออนไลน์ เช่น การทำ QRCode และแบบฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เมื่อได้รับนโยบายให้ดำเนินการเรื่องอบรมครูเพศวิถีศึกษาจัดอบรมขยายผลเพศวิถีศึกษากุหลาบจึง ได้แก่ ครูผู้สอนทั้ง 59 โรงเรียน ที่อยู่ในการดูแลของเขตพื้นที่และในโครงการ E-Learning นี้ก็มีการขับเคลื่อนทั้งระบบ
“ข้อมูลที่เราหามาได้ช่วงเริ่มเข้ามารับผิดชอบโครงการอบรมเพศวิถีศึกษาเท่าที่ทราบคือ ปัญหาของวัยรุ่นในโรงเรียน ถึงแม้จะมีจัดการเรียนการสอนจัดกิจกรรมสอนเรื่องเพศศึกษาแต่ก็ยังมีกรณีเด็กขึ้นอยู่ ซึ่งเราก็ให้แนวนโยบายไปว่าเด็กที่ตั้งครรภ์ต้องได้เรียนต่อ ไม่ต้องจากโรงเรียนมีแนวทางให้เด็กได้เรียนต่อจนจบในช่วงชั้นของเขาบางทีก็มีเรื่องโรคติดต่อด้วย เคยมีคุณครูโทรมาปรึกษาว่า มีเด็กเป็นหนองในจะทำยังไงดี ศน.เลยประสานไปทางโรงพยาบาลขอว่า ถ้าเป็นกรณีนี้สามารถพาเด็กไปที่ห้องไหนได้เลย ไม่ต้องผ่านหลายขั้นตอนเด็กจะได้ไม่อาย ตอนนี้สถิติการตั้งครรภ์ไม่พร้อมลดน้อยลง ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าเขาไป จัดการเองหรือเปล่าเลยไม่ได้มารับบริการที่โรงพยาบาล” ข้อมูลที่ได้รับรู้เป็นตัวผลักดันที่ให้เข้ามาจัดอบรมโครงการพัฒนาการเรียนรู้แบบ Electronic Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูสอนเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเด็กโดยตรง ถ้าเด็กไม่ได้รับความรู้หรือทักษะตรงนี้ โตขึ้นมาภูมิคุ้มกัน ยิ่งสังคมสมัยนี้มีสื่อต่างๆ มากมายที่เข้าถึงการดำเนินชีวิตของเขาอาจมีความพลิกผัน อย่างน้อยเราสามารถให้ข้อมูลเป็นองค์ความรู้ได้ฉุกคิด ให้เขาใช้ชีวิตอยู่ในสังคมยุคนี้ได้อย่างปลอดภัย โดยครูที่เข้าร่วมอบรมส่วนมากเป็นครูสุขศึกษา พละศึกษา แนะแนว ครูที่ปรึกษา ครูงานอนามัยโรงเรียน สำหรับโปรแกรมพัฒนาครูเพศวิถีศึกษาแบบออนไลน์ประกอบด้วย 8 หน่วยการเรียนรู้(Module) ได้แก่
1.เพศวิถีศึกษาแนวคิดหลัก และเป้าหมายการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษา
2.มองเรื่องเพศรอบ 6 มิติ
3.ด้านสังคม วัฒนธรรม และเพศวิถี
4.ครูกับการสื่อสารเรื่องเพศ
5.การจัดการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม
6.ห้องเรียนเพศวิถีที่นักเรียนมีส่วนร่วม
7.ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
8.โรงเรียนที่มีประสิทธิภาพในการสร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องเพศ
“เนื้อหาที่อบรมเป็นการปรับทัศนคติของคุณครูก่อนว่าเรื่องเพศมีความหลากหลายรวมทั้งเรื่องสัมพันธภาพการอยู่ร่วมกันเรื่องของสื่อเช่น ถ้าครูสอนก็ไม่จำเป็นต้องสอนเนื้อหาอย่างเดียว ใช้บทบาทสมมุติได้คือ ลองให้นักเรียนใส่ชุดคลุมท้อง หรือกรณีที่มีเด็กท้อง ครูจะต้องให้คำปรึกษาโดยเป็นกลาง ไม่ใช้ความคิดของตัวเอง ไม่ชี้ถูกชี้ผิด ให้เด็กเป็นคนตัดสินใจเองได้บ้าง หลังจากนั้นก็เห็นกระบวนการในการขับเคลื่อนงานใน โรงเรียน เป็นงานกิจการนักเรียนด้วยที่เข้ามามีส่วน ผู้บริหารให้ความสนใจหรือตระหนักในเรื่องนี้ ไหน เหล่านี้จะเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงานในโรงเรียน เมื่อเด็กให้ความไว้วางใจเราจะได้มั่นใจว่าให้คำปรึกษาเขาได้ เราเลยประชาสัมพันธ์ให้ครูทุกคนได้เข้าเรียนเพราะเป็นเรื่องสำคัญ กุหลาบ เล่าถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากครูเพศวิถี
คำถามชวนคิด กิจกรรมฝึกปฏิบัติ
เนื่องจากครูแต่ละคนมีภาระรับผิดชอบในการสอนนักเรียนมากอยู่แล้ว เรียนโปรแกรมเพศวิถี ออนไลน์จึงเป็นวิธีการที่มีข้อดีคือ ไม่ต้องออกนอกโรงเรียนสามารถเรียนรู้ได้ เมื่อมีเวลาว่างเข้าไปทบทวนได้บ่อยๆประหยัดงบประมาณของโรงเรียน แต่อาจมีอุปสรรคบ้างคือ ครูบางท่านไม่เก่งด้านเทคโนโลยี ซึ่งศน.กุหลาบได้ช่วยเหลืออธิบายวิธีต่างๆให้คุณครูเข้าใจและเรียนรู้ผ่านหลักสูตรได้ด้วยดี
“การสอนเพศวิถีศึกษาในโรงเรียน ถ้าดูตามสถานการณ์ปัจจุบัน เราน่าจะเน้นเรื่องสัมพันธภาพ เดี๋ยวนี้เด็กมักคิดน้อยใจ เรื่องสุขภาพจิต การบริหารจัดการกับความเครียดของตัวเอง ภาวะซึมเศร้า หากมีสัมพันธภาพที่เปลี่ยนไปก็ควรปรับเปลี่ยนบทบาท ให้เด็กรู้ว่าสัมพันธภาพมีการเปลี่ยนแปลง ให้เขารับกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ด้วย”
ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบโครงการฯพูดถึงเสียงสะท้อนจากคุณครูที่ได้เข้ามาอบรมส่วนใหญ่มองว่า เป็นเรื่องดีสามารถนำมาปรับใช้ในโรงเรียน ทำให้ครูได้เห็นว่าไม่ใช่แค่สาระสุขศึกษาวิชาเดียวที่จะต้อง รับผิดชอบในการจัดกิจกรรม “ถ้าเราทุกคนร่วมมือกันเด็กของเราก็จะมีภูมิคุ้มกันในระดับหนึ่ง และได้เพิ่มความสนใจใส่ ขึ้นด้วยหลังจากครูอบรมจบแล้ว เราก็จะมีการติดตามผลงานครูว่าไปถ่ายทอดสอนเด็กอย่างไรบ้าง”
หลังจากจบหลักสูตร ครูจะต้องนำความรู้ที่อบรมมา ไปจัดรูปแบบการเรียนการสอนให้กับนักเรียน โรงเรียนตามระดับชั้นที่วางไว้ โดยมีศึกษานิเทศก์คอยติดตามประเมินผลการติดตามประเมินการสอนของครูเพศวิถี ศน.กุหลาบมีหลายวิธี เช่น หากไม่ได้ไปดูที่ห้องเรียนก็จะให้คุณครูอัดคลิปการสอนดูให้ส่งแผนการสอนมาให้อ่านจะได้ดูว่าครูสอนบรรลุถึงเป้าหมายของกิจกรรมนั้นไหมแต่วิธีที่เห็นผลจริงๆ สำหรับเธอคือ การโค้ชหลังห้องเพราะจะได้เห็นการสอนของครูว่าเป็นอย่างไร ได้สังเกตพฤติกรรมของเด็กกับ ครูเป็นแบบใดรวมทั้งกิจกรรมที่จัดระหว่างการเรียนการสอน
“เมื่อเราได้เห็นของจริงจะได้แนะนำคุณครูได้ว่าควรปรับอะไร มีรูปแบบอะไรที่น่าสนใจที่ปรับใช้ได้
บางโรงเรียนทำการสอนได้น่าประทับใจ มีการใช้สื่อ เอาคลิปมาให้ดูกระตุ้นความสนใจเด็กก่อน แล้ว ตั้งคำถามชวนให้เด็กคิด จัดกิจกรรมให้เด็กลองฝึกปฏิบัติ ซึ่งเป็นช่วงของการสร้างความตระหนัก พฤติกรรมต่อไปว่าเด็กจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันไหมแค่ไหน สำหรับบางโรงเรียนที่ยังไม่บรรลุผล ศน.กุหลาบจะแนะนำให้แนวคิดกับครูว่าเวลาเด็กกลับไปบ้านให้ มีการเขียนรายงานสิ่งที่ได้พบเจอ รวมทั้งวิธีการที่เด็กใช้ในการรับมือและจัดการปัญหา
“ครูจะได้รู้ความคิดของเด็กด้วยเมื่อเราสอนแล้ว ทำกิจกรรมแล้ว ก็อยากให้เด็กได้ความรู้มากกว่านั่ง ฟังแบบลอยๆ เสียเวลาเป็นชั่วโมงในคาบเรียนนั้น”
ความร่วมมือ คือเป้าหมาย
การวัดผลลัพธ์ของการสอนเพศวิถีศึกษา ไม่ได้มอง แค่ความสนใจของเด็กในห้องเท่านั้น แต่ต้องวัดจาก พฤติกรรมของเด็กที่เปลี่ยนไปซึ่งอาจจะดูค่อนข้างยากแต่ที่ เห็นได้ชัดเจนคือ การคบหาเพื่อนของเด็กหรือพฤติกรรมที่ไม่ พึงประสงค์ เช่นที่เคยไปมั่วสุมกินเหล้าก็เลิกไป สถิติเด็กที่ไปรับบริการที่คลินิกเรื่องท้องไม่พร้อมมีจำนวนน้อยลง ครู สังเกตจากการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ซึ่งเด็ก ม.ปลายจะเห็นได้ชัด เพราะด้วยวัยที่โตขึ้นรู้จักป้องกันตัวเองได้มากขึ้น เมื่อจะมี เพศสัมพันธ์จึงเป็นเหตุผลที่โรงเรียนต้อให้ความสนใจเด็กกลุ่มมัธยมต้นมากขึ้นเพราะเขาอาจรู้ไม่เท่าทันเมื่อเทียบกับ รุ่นพี่หากครูเพศวิถีนำสื่อการสอนอย่างคลิปหรือเนื้อหา เกี่ยวกับชุมชนที่อยู่ใกล้ตัวเขามาให้ดูบ่อยๆ หรือยกตัวอย่าง ให้เขาเห็น เช่น บางคนอายุยังน้อยแต่ต้องเลี้ยงลูกอยู่บ้านถ้าไม่อยากเป็นแบบนั้นจะต้องทำตัวอย่างไรเพื่อให้เด็กคิดในเชิงบวกมากขึ้น
“อยากเห็นทุกคนผ่านพ้นช่วงที่ไม่ดีของชีวิตไปได้ การจะผ่านพ้นไปได้เด็กต้องมีองค์ความรู้ มีประสบการณ์ อย่างน้อยก็มีทางโรงเรียนจัดประสบการณ์ให้ อาจเป็นบทบาทสมมติหรืออะไรก็แล้วแต่ เรามีแนวทางแล้วเกิดประสบปัญหาจะได้มีแนวทางแก้ไขที่ถูกต้อง ไม่ต้องลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง ชีวิตของเราก็จะดีขึ้น ไม่จมอยู่กับความไม่พร้อมหรือถึงแม้เราเลือกผิดก็อาจกลับตัวขึ้นมาใหม่ได้หากมีแนวทางที่ถูกต้อง”
แม้จะเป็นเรื่องที่สำคัญต่อสภาวะวัยรุ่น แต่การทำให้ทุกคนเข้าใจในเรื่องเพศวิถีศึกษาอย่างเข้มแข็ง ไม่สามารถทำได้ด้วยมือบุคลากรในโรงเรียนเท่านั้น หน่วยงานภายนอกมาช่วยเสริมความรู้ หรือควรมีงบประมาณให้กับโรงเรียนเช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพที่มีงบประมาณ หรือมาให้ความรู้เช่น การใช้ถุงยาง การรักษาโรคติดต่อการดูแลสุขภาพ สุขภาวะเบื้องต้น อีกที่คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ชุมชนตัวเองที่น่าจะเข้ามามีบทบาทอย่างน้อยก็ลงในชุมชน จะได้สร้างองค์ความรู้ไปพร้อม ๆ กัน
“ถ้าเด็กเปลี่ยนแล้ว ผู้ปกครองไม่เปลี่ยนก็ไม่มีประโยชน์ สถานการณ์มันเปลี่ยนไปแล้วควรให้ความรู้
กับผู้ปกครองด้วยทางโรงเรียนสามารถขับเคลื่อนเองได้โดยเสนอโครงการของบสนับสนุนเกี่ยวกับชุมชน
หรือผู้ปกครอง เอามาจัดกิจกรรมในวันประชุม
ผู้ปกครองนักเรียน แล้วเพิ่มกิจกรรมสาธิตให้ผู้ปกครอง
เมื่อลูกหลานเข้าไปอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงต้องทำอย่างไร ทบทวนให้เขาเข้าใจว่าทำไมโรงเรียนต้องสอนเรื่องเพศวิถี ศึกษาให้กับนักเรียน พ่อแม่จะได้คุยกับลูกได้สะดวกใจขึ้นด้วย”
ศน.กุหลาบ ฮ่องลึก ย้ำอีกครั้งว่าเพศวิถีเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นที่โรงเรียนจะต้องจัดให้เด็กทุกคน ได้เรียนเมื่อเด็กมีความรู้อยู่ปลอดภัย คุณภาพชีวิตดีครอบครัวและสังคมก็จะดีตามไปด้วย
ที่มา : เอกสารเผยแพร่โครงการพัฒนาการเรียนรู้แบบ Electronic Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูสอนเพศวิถีศึกษาและทักษะ ชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำโดยมูลนิธิแพธทูเฮลท์,๒๕๖๓