< กลับหน้าแรก

โปรแกรมเด็กล้านนาไม่อ้วน


เขียนเมื่อ: 17-10-2022 13:36 โดย โสภิดา เย็นทรวง

การประยุกต์ใช้โปรแกรมเด็กล้านนาไม่อ้วน เป็นการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วน อ้วน เพื่อลดน้ำหนัก 8 สัปดาห์ ดังนี้ กิจกรรมโปรแกรมเด็กล้านนาไม่อ้วน สัปดาห์ที่ 1 เพื่อทดสอบก่อนอบรม (Pre- test ) สัปดาห์ที่ 2 เพื่อสร้างการรับรู้ความสามาถตนเอง (Self – efficacy) ด้านการบริโภคอาหาร สัปดาห์ที่ 3 เพื่อสร้างการรับรู้ความสามาถตนเอง (Self – efficacy) ด้านการออกกำลังกาย สัปดาห์ที่ 4 เพื่อสร้างพฤติกรรมการกำกับตนเอง(Self – regulation) ด้านการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย สัปดาห์ที่ 5 เพื่อสร้างพฤติกรรมการกำกับและดูแลตนเอง(Self – care) สัปดาห์ที่ 6 เพื่อสร้างพฤติกรรมการกำกับและดูแลตนเอง(Self – care) สัปดาห์ที่ 7ทบทวนบทเรียน สัปดาห์ที่ 8 ทดสอบหลังกาอบรม (Post-test )

โปรแกรมเด็กล้านนาไม่อ้วน image

กิจกรรมโปรแกรมเด็กล้านนาไม่อ้วน สัปดาห์ที่ 1 เพื่อทดสอบก่อนอบรม (Pre- test ) - ชั่งน้ำหนัก - วัดส่วนสูง - ทดสอบสมรรถภาพทางกาย - การประเมินพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน - แบ่งกลุ่ม ตั้งประธานกลุ่ม - จัดตั้งกลุ่มไลน์

สัปดาห์ที่ 2 เพื่อสร้างการรับรู้ความสามาถตนเอง (Self – efficacy) ด้านการบริโภคอาหาร - ให้ความรู้ด้านโภชนาการ, ธงโภชนาการ ,ฉลากโภชนการ ,การรับประทานตามโซนสี,และอาหารพื้นบ้านล้านนา -
สัปดาห์ที่ 3 เพื่อสร้างการรับรู้ความสามาถตนเอง (Self – efficacy) ด้านการออกกำลังกาย - ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน - เทคนิคการออกกำลังกาย - การออกกำลังกายแบบCHOPA & CHIPA - การออกกำลังกายแบบเก้าอี้ขยี้พุง - การออกกำลังกายพื้นบ้านแบบตากระโดด

สัปดาห์ที่ 4 เพื่อสร้างพฤติกรรมการกำกับตนเอง(Self – regulation) ด้านการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย - ตั้งเป้าหมายการลดน้ำหนักด้วยตนเอง
- การบันทึกการบริโภคอาหาร - การบันทึกการออกกำลังกาย - บันทึกสุขภาพประจำตัวนักเรียน - เทคนิคการกับตนเอง 4 ขั้นตอน ได้แก่การกำหนดพฤติกรรมเป้าหมายและวางแผนบริโภคอาหารและออกกำลังกาย การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมด้วยตนเอง การประเมินผลและการให้แรงเสริมตนเอง สัปดาห์ที่ 5 เพื่อสร้างพฤติกรรมการกำกับและดูแลตนเอง(Self – care) - การจัดการอารมณ์ในการลดน้ำหนักตนเอง - การเลนบทบาทสมมุติ - การเสริมแรงทางบวก - การให้ข้อมูลย้อนกลับ - และสติกเกอร์ชื่นชมความสำเร็จ - การชี้แนะ การพูดให้กำลังใจ

สัปดาห์ที่ 6 เพื่อสร้างพฤติกรรมการกำกับและดูแลตนเอง(Self – care) - กิจกรรมสนทนากลุ่ม นักเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (ความสำเร็จในการจัดเมนูอาหาร การรับประทานอาหารอาหารและการออกกำลังกาย ประสบการณ์การกำกับตนเองด้านอาหาร ออกกำลังกายและอารมณ์) - ร่วมกันระดมสมอง ค้นหาปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติที่ผ่านมาและร่วมหาวิธีการแก้ไข รายกลุ่มและรายบุคคล กิจกรรม “เลือกกิน เลือกเก็บ เคล็ดลับหุ่นดี” - กิจกรรม “การจัดเมนูอาหารของฉัน” การให้กำลังใจและมอบหมายงาน สัปดาห์ที่ 7ทบทวนบทเรียน - หลังการควบคุมอารมณ์ ด้วยเทคนิค 3 ส (สะกด สะกิด สกัด) - ตรวจสอบสมุดบันทึกสุขภาพนักเรียน - กติกาการประกวดบุคคลต้นแบบ - ประกวดคลิปวีดีโอ - แนะนำคัมภีร์เพื่อหุ่นสวย - สรุปบทเรียนทั้งหมด

สัปดาห์ที่ 8 ทดสอบหลังกาอบรม (Post-test ) - ชั่งน้ำหนัก - วัดส่วนสูง - ทดสอบสมรรถภาพทางกาย - การประเมินพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน - กิจกรรมให้รางวัลบุคคลต้นแบบ สำหรับผู้ที่ลดน้ำหนักได้(มอบใบประกาศ) - กิจกรรมต้นไม้แห่งสุขภาพ


หมวดหมู่

  • ภาวะโภชนาการ
  • กิจกรรมทางกาย

ผู้ใช้ความรู้

  • ครู

กลุ่มเป้าหมาย

  • ประถมศึกษาตอนต้น
  • ประถมศึกษาตอนปลาย